การเพาะพันธุ์ลูกปลาตะเพียนขาวเพศเมียล้วนแบบอินทรีย์ 1446 Views

องค์ความรู้/เทคโนโลยี

        เทคโนโลยี “การเพาะพันธ์ลูกปลาตะเพียนขาวเพศเมียล้วนแบบอินทรีย์” ด้วยกระบวนการคัดเลือกสเปิร์มในขั้นตอนการผสมเทียม ปราศจากการใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์และสารเคมี ปลอดภัยต่อทั้งเกษตรกรและผู้บริโภค

รายละเอียด

        ปลาตะเพียนขาวเพศเมียมีการเจริญเติบโตดีกว่าเพศผู้ เกษตรกรจึงมีความต้องการลูกพันธ์ุปลาตะเพียนขาวเพศเมียล้วนเพื่อผลผลิตที่มากกว่า โดยทั่วไปมักจะใช้ฮอร์โมนสเตียรอยด์สังเคราะห์มาแช่ลูกปลาหรือผสมในอาหาร เพื่อแปลงเพศลูกปลาให้เป็นเพศเมียล้วน ก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยกับผู้ปฏิบัติงาน สิ่งแวดล้อม และผู้บริโภค อีกทั้งไม่เป็นไปตามมาตรฐานการผลิตสัตว์น้ำแบบอินทรีย์อีกด้วย

        “การเพาะพันธุ์ลูกปลาตะเพียนขาวเพศเมียล้วน” ได้รับการพัฒนาคิดค้นโดยใช้เทคนิคการคัดเลือกสเปิร์มในระหว่างขั้นตอนการผสมเทียม ซึ่งเป็นวิธีที่สะดวก ไม่ยุ่งยาก ลดขั้นตอนการปฏิบัติงานสำหรับการแปลงเพศสัตว์น้ำ แต่ยังคงไว้ซึ่งอัตราการเกิดเพศเมียในลูกพันธ์ุมากกว่า 95% และที่สำคัญมีความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงานและผู้บริโภค นำไปสู่การผลิตปลาตะเพียนขาวแบบอินทรีย์ได้

จุดเด่น

  • เป็นวิธีการผลิตลูกพันธ์ุปลาตะเพียนขาวเพศเมียล้วนได้มากกว่า 95%
  • ไม่ต้องใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์สำหรับการแปลงเพศ จึงปลอดภัยกับผู้ปฏิบัติงาน สิ่งแวดล้อม และผู้บริโภค
  • ลดขั้นตอนในการปฏิบัติงานในกระบวนการแปลงเพศได้
  • ข้อมูลเปรียบเทียบเทคโนโลยีนี้กับคู่แข่ง / เทคโนโลยีเดิม

    ตลาด/กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

    • ผู้บริโภคทั่วไป
    • ผู้บริโภคที่ใส่ใจในสุขภาพ
    พูดคุยกับเจ้าของเทคโนโลยี
    มหาวิทยาลัยนเรศวร
    Thuchapol Karaket
    สถานะผลงาน
    ระดับการทดลอง (Experimental)
    • Initial
    • Experimental
    • Prototype
    • Transfer
    ความต้องการ
    • ต้องการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับผู้ที่สนใจเพื่อผลิตเชิงพาณิชย์

    ผู้เหมาะนำเทคโนโลยีไปลงทุน

  • กลุ่มอุตสาหกรรมผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำวัยอ่อน
  • กรมประมง
  • กลุ่มเกษตรกรและชุมชนผู้เลี้ยงปลา
  • ราคาต่อรอง (Negotiable)
    • negotiable

    เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

    ผู้สมัครสามารถสมัครโปรแกรม / ทุนสนับสนุนที่เกี่ยวข้องด้านล่างภายหลังการจับคู่ผ่านระบบสำเร็จ