การผลิต Woodceramics จากเศษเหลือวัสดุปาล์มน้ำมัน 1446 Views

องค์ความรู้/เทคโนโลยี

        วิธีการออกแบบและสร้าง “Woodceramics” จากเศษเหลือวัสดุปาล์มน้ำมัน ที่มีลักษณะแข็ง ทนทานต่อความร้อน การสึกหรอ หรือการขัดสีขีดข่วน รวมทั้งมีคุณสมบัติทางไฟฟ้าและคลื่นไฟฟ้าที่น่าสนใจ สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมได้หลากหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ป้องกันคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า วัสดุดูดซับ หรือฉนวนกันความร้อน

รายละเอียด

        ปาล์มน้ำมันเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่งที่มีการขยายพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นทุกปี ส่งผลให้เศษเหลือของปาล์มน้ำมันมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น และไม่มีการนำไปใช้ประโยชน์อย่างจริงจัง โดย woodceramics เป็นวัสดุชนิดใหม่ที่จะช่วยแก้ไขข้อจำกัดในการใช้ถ่านไม้ ที่ไม่สามารถใช้งานที่อุณหภูมิสูง (600 องศาเซลซียส) เนื่องจากมีค่าความแข็งแรงต่ำ และเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นได้ง่ายได้ 

        “Woodceramics” ได้รับการพัฒนาคิดค้นจากการนำเศษเหลือปาล์มน้ำมัน คือ ลำต้น ทางปาล์ม และกะลาปาล์มมาใช้ประโยชน์ ทำให้มีคุณสมบัติโดดเด่นหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นมีลักษณะแข็ง ทนทานต่อความร้อน การสึกหรอ และการขัดสีขีดข่วน ทนต่อการกัดกร่อนของสารเคมี มีคุณสมบัติทางไฟฟ้าและคลื่นไฟฟ้าที่น่าสนใจ ทำให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมได้หลากหลายอุตสาหกรรม รวมถึงเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศษเหลือปาล์มน้ำมัน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันในระยะยาวอีกด้วย

จุดเด่น

  • มีลักษณะแข็ง ทนทานต่อความร้อน การสึกหรอ และการขัดสีขีดข่วน 
  • ทนต่อการกัดกร่อนของสารเคมี
  • สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมได้หลากหลายอุตสาหกรรม

ตลาด/กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

  • ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมด้านต่างๆ
  • ผู้สนใจทั่วไป
พูดคุยกับเจ้าของเทคโนโลยี
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก.
สถานะผลงาน
ระดับถ่ายทอด (Transfer)
  • Initial
  • Experimental
  • Prototype
  • Transfer
ความต้องการ
  • ต้องการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับผู้ที่สนใจเพื่อผลิตเชิงพาณิชย์

ผู้เหมาะนำเทคโนโลยีไปลงทุน

  • ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมด้านต่างๆ
  • ผู้ประกอบการ/ เกษตรกรในอุตสาหกรรมการเกษตรและปาล์มน้ำมัน
  • ผู้สนใจทั่วไป

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

ผู้สมัครสามารถสมัครโปรแกรม / ทุนสนับสนุนที่เกี่ยวข้องด้านล่างภายหลังการจับคู่ผ่านระบบสำเร็จ