สารเคลือบผิวหน้าผักและผลไม้สด จากไขสกัดใบกะหล่ำปลี 3194 Views

องค์ความรู้/เทคโนโลยี

         กรรมวิธีผลิต “สารเคลือบผิวหน้าผักและผลไม้สด จากไขสกัดใบกะหล่ำปลี” เพื่อชะลอการเปลี่ยนแปลงทางด้านสรีรวิทยาของผักและผลไม้ภายหลังการเก็บเกี่ยว รวมถึงเป็นการใช้ทดแทนการนำเข้าสารเคลือบผิวจากต่างประเทศ และเพิ่มมูลค่าให้กับใบด้านนอกของกะหล่ำปลีที่เป็นเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร

รายละเอียด

         ในปัจจุบันผู้ประกอบการผักและผลไม้สดให้ความสำคัญต่อการใช้สารเคลือบผิวที่ผลิตจากวัตถุดิบทางธรรมชาติเช่น ไขผึ้ง ไขคาร์นูบาร์ ไขรำข้าว ไขอ้อย ไคโตซาน ซึ่งสารเคลือบผิวประเภทนี้มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคและสามารถรับประทานได้ อย่างไรก็ตามสารเคลือบผิวที่ผลิตจากวัตถุดิบธรรมชาติในประเทศไทยไม่เพียงพอต่อการใช้งาน ส่งผลให้มีการนำเข้าสารเคลือบผิวจากต่างประเทศ         

         “สารเคลือบผิวหน้าผักและผลไม้สด จากไขสกัดใบกะหล่ำปลี” ได้รับการพัฒนาคิดค้นโดยการนำเอาไขสกัดจากใบกะหล่ำปลี จากใบด้านนอกที่มักถูกคัดทิ้ง มาใช้ประโยชน์และเพิ่มมูลค่าโดยการสกัดไข โดยไขดังกล่าวมีคุณสมบัติไม่ชอบน้ำ เปียกน้ำได้น้อย และสามารถทำความสะอาดตัวเองได้ ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์สามารถชะลอการเปลี่ยนแปลงทางด้านสรีรวิทยาของผักและผลไม้ภายหลังการเก็บเกี่ยว รวมถึงเป็นการใช้ทดแทนการนำเข้าสารเคลือบผิวจากต่างประเทศอีกด้วย

จุดเด่น

  • เป็นการใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบเหลือทิ้งทางการเกษตรและใช้วัตถุดิบท้องถิ่นให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น
  • ทดแทนการนำเข้าสารเคลือบผิวจากต่างประเทศ
  • สามาถชะลอการเปลี่ยนแปลงทางด้านสรีรวิทยาของผักและผลไม้ภายหลังการเก็บเกี่ยว
  • เพิ่มคุณภาพของผัก ผลไม้สด ทำให้รายได้ของเกษตรกรและผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น

ตลาด/กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

  • ผู้ส่งออกผลไม้
  • เกษตรกรหรือแม่ค้ารายย่อย
  • ผู้สนใจทั่วไป
พูดคุยกับเจ้าของเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ณัฐนันท์ นันทะแสน
สถานะผลงาน
ระดับถ่ายทอด (Transfer)
  • Initial
  • Experimental
  • Prototype
  • Transfer
ความต้องการ
  • ต้องการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับผู้ที่สนใจเพื่อผลิตเชิงพาณิชย์
  • ต้องการพัฒนาต่อยอดด้านกระบวนการผลิตในระดับอุตสาหกรรมร่วมกับผู้ที่สนใจ

ผู้ที่เหมาะนำเทคโนโลยีไปลงทุน

  • ผู้ผลิตและจำหน่ายผักและผลไม้สด
  • บริษัทผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร
  • ผู้สนใจทั่วไป


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

ผู้สมัครสามารถสมัครโปรแกรม / ทุนสนับสนุนที่เกี่ยวข้องด้านล่างภายหลังการจับคู่ผ่านระบบสำเร็จ