ระบบเลือกตั้งบนบล็อกเชน (Blockchain) 5060 Views

องค์ความรู้/เทคโนโลยี

        เทคโนโลยี “ระบบเลือกตั้งบนบล็อกเชน (Blockchain)” เป็นระบบจัดเก็บฐานข้อมูลการเลือกตั้งแบบกระจาย (Distributed Ledger) ในลักษณะ Block เชื่อมต่อกัน โดยไม่ต้องอาศัยตัวกลาง ยากต่อการโจมตีระบบหรือแก้ไขข้อมูล ทำให้ข้อมูลการลงคะแนนมีความถูกต้อง ปลอดภัย ผู้ลงคะแนนมั่นใจได้ว่าข้อมูลที่ตนโหวตให้ผู้สมัครจะไม่ถูกเปิดเผย และไม่ถูกแก้ไขเพื่อเอื้อประโยชน์ให้ผู้สมัครคนใดคนหนึ่ง

รายละเอียด

        ระบบเลือกตั้งอิเล็กทรอนิกส์แบบดั้งเดิมเป็นระบบแบบรวมศูนย์ โดยข้อมูลการลงคะแนนจะส่งมายังเครื่องแม่ข่ายส่วนกลาง ทำให้มีความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล และอาจเกิดปัญหาการโจมตีระบบหรือแก้ไขข้อมูล เพื่อเปลี่ยนแปลงผลการลงคะแนนได้

        “ระบบเลือกตั้งบนบล็อกเชน (Blockchain)” ได้รับการพัฒนาคิดค้น โดยใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนเป็นระบบจัดเก็บฐานข้อมูลในการเลือกตั้ง ซึ่งจะกระจายข้อมูล (Distributed Ledger) ในลักษณะ Block เชื่อมต่อกัน โดยข้อมูลจะถูกสำรองและตรวจสอบความถูกต้อง (Consensus) จากสมาชิกในเครือข่ายแล้วจัดเก็บตาม Node ต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงอยู่กับเครือข่าย โดยไม่ต้องอาศัยตัวกลาง และด้วยกลไกในการตรวจสอบในการสร้างข้อมูลเท็จทำให้ระบบเลือกตั้งบนบล็อกเชนจัดเก็บข้อมูลการลงคะแนนได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย ผู้ลงคะแนนมั่นใจได้ว่าข้อมูลที่ตนโหวตให้ผู้สมัครจะไม่ถูกเปิดเผย และไม่ถูกแก้ไขเพื่อเอื้อประโยชน์ให้ผู้สมัครคนใดคนหนึ่ง ยากต่อการปลอมแปลงหรือสวมสิทธิ์แทนบุคคลอื่น สร้างความโปร่งใสตรวจสอบได้ สร้างความน่าเชื่อถือให้กับการเลือกตั้ง อีกทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจัดการเลือกตั้ง สะดวกต่อผู้ลงคะแนน เนื่องจากสามารถโหวตผ่านระบบจากทุกที่ที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ ซึ่งอาจช่วยให้จำนวนผู้ใช้สิทธิลงคะแนนเพิ่มขึ้น และสามารถประยุกต์ใช้ได้กับการเลือกตั้งหรือลงประชามติในทุกระดับ ทุกหน่วยงานอีกด้วย

จุดเด่น

  • ข้อมูลการลงคะแนนการเลือกตั้งสามารถประมวลผลได้อย่างรวดเร็ว มีความถูกต้อง และปลอดภัย
  • ข้อมูลของผู้ทำการเลือกตั้งไม่ถูกเปิดเผย
  • ไม่สามารถแก้ไขข้อมูลเพื่อเอื้อประโยชน์ให้ผู้สมัครคนใดคนหนึ่ง
  • ยากต่อการปลอมแปลงหรือสวมสิทธิ์แทนบุคคลอื่น
  • มีความโปร่งใสผู้ทำการเลือกตั้งสามารถตรวจสอบข้อมูลการโหวตของตนเองได้
  • ลดค่าใช้จ่ายในการจัดการเลือกตั้ง
  • สะดวกสามารถลงคะแนนผ่านระบบจากทุกที่ที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้

ตลาด/กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

  • บริษัท หน่วยงาน Organizer ที่รับจัดการเลือกตั้ง
  • บริษัท องค์กร หน่วยงาน ที่มีการเลือกตั้งลงประชามติภายใน
พูดคุยกับเจ้าของเทคโนโลยี
ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาและบ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาและบ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สถานะผลงาน
ระดับต้นแบบ (Prototype)
  • Initial
  • Experimental
  • Prototype
  • Transfer
ความต้องการ
  • ต้องการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับผู้ที่สนใจเพื่อผลิตเชิงพาณิชย์

ผู้เหมาะนำเทคโนโลยีไปลงทุน

  • บริษัท หน่วยงาน Organizer ที่รับจัดการเลือกตั้ง
  • หน่วยงานของรัฐ


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

ผู้สมัครสามารถสมัครโปรแกรม / ทุนสนับสนุนที่เกี่ยวข้องด้านล่างภายหลังการจับคู่ผ่านระบบสำเร็จ