สารสกัด L-quebrachitol จากซีรั่มน้ำยางพารา สำหรับใช้ในผลิตภัณฑ์เวชสำอาง 2921 Views

องค์ความรู้/เทคโนโลยี

        กรรมวิธีผลิต "น้ำตาล L-Quebrachitol" จากซีรั่มน้ำยางพาราสด และน้ำทิ้งจากกระบวนการรีดยางแผ่น ที่มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระสูง มีฤทธิ์ในการยับยั้งแบคทีเรียซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดสิว และยังมีคุณสมบัติในการช่วยชะลอริ้วรอยแห่งวัย ลดผิวหนังหมองคล้ำ เพิ่มความชุ่มชื้นให้กับเซลล์ผิวหนัง นอกจากนี้ L-Quebrachitol ยังสามารถใช้เป็นส่วนผสมในเวชสำอางชนิดต่างๆ โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่มีผิวแพ้ง่ายได้อีกด้วย

รายละเอียด

        ในปัจจุบัน ประเทศไทยเป็นประเทศผู้ผลิตยางอันดับหนึ่งของโลก อุตสาหกรรมยางพาราจึงเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจ และสามารถสร้างรายได้ให้แก่ประเทศและท้องถิ่นเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตามการเติบโตและกำลังผลิตของโรงงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยางได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้การนำเอาผลผลิตหรือของเสียจากอุตสาหกรรมมาแปรรูปมีความสำคัญเป็นอย่างมาก

        “กระบวนการสกัด L-Quebrachitol” ได้รับการพัฒนาคิดค้นขึ้น เพื่อสกัด L-Quebrachitol จากซีรั่มน้ำยางพาราสด และ น้ำทิ้งจากกระบวนการรีดยางแผ่น มาผลิตสารบริสุทธิ์ L-Quebrachitol ซึ่งเป็นน้ำตาลกลุ่ม oligosaccharide ที่สามารถละลายน้ำได้ 100 เปอร์เซ็นต์ จึงสามารถซึมผ่านชั้นเซลล์ผิวหนังได้ในระดับลึก เพิ่มความชุ่มชื้นให้กับเซลล์ผิวหนัง ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ สารสกัดนี้มีคุณสมบัติ แสดงฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และมีฤทธิ์ในการยับยั้งแบคทีเรียซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดสิว และยังมีคุณสมบัติในการช่วยชะลอริ้วรอยแห่งวัย ลดผิวหนังหมองคล้ำ เพิ่มความชุ่มชื้นให้กับเซลล์ผิวหนัง นอกจากนี้ สารบริสุทธิ์ L-Quebrachitol สามารถนำมาใช้เป็นส่วนผสมในเวชสำอางชนิดต่างๆโดยเฉพาะเวชสำอางสำหรับผู้ที่มีผิวแพ้ง่าย สามารถใช้เป็นส่วนประกอบของสารต้านมะเร็ง (Anti-cancer agents) และสามารถนำมาผลิตเป็นสารเคลือบแผ่นยางได้อีกด้วย

จุดเด่น

  • ได้สาร L-Quebrachitol ที่มีความบริสุทธิ์สูง (99.5%)
  • กระบวนการสกัด และการแยก ที่ทำได้ง่าย ต้นทุนต่ำ
  • นำวัสดุเหลือทิ้ง (ซีรัมน้ำยางพาราสด และ น้ำทิ้งจากขบวนการรีดยางแผ่น) มาเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร
  • เป็นเทคโนโลยีที่ปราศจากของเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมการรีดยางแผ่น 100% (Zero waste Technology)

ตลาด/กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

  • ผู้ที่ใส่ใจในสุขภาพ ความสวย ความงาม
  • ร้านค้าจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง
  • ผู้สนใจทั่วไป
พูดคุยกับเจ้าของเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
อุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
สถานะผลงาน
ระดับงานวิจัย (Initial)
  • Initial
  • Experimental
  • Prototype
  • Transfer
ความต้องการ
  • ต้องการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับผู้ที่สนใจเพื่อผลิตเชิงพาณิชย์

ผู้เหมาะนำเทคโนโลยีไปลงทุน

  • ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเวชสำอาง/ เครื่องสำอาง
  • ผู้ผลิตหรือผู้ที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมยางพารา
  • ผู้สนใจทั่วไป

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

ผู้สมัครสามารถสมัครโปรแกรม / ทุนสนับสนุนที่เกี่ยวข้องด้านล่างภายหลังการจับคู่ผ่านระบบสำเร็จ