อุปกรณ์ช่วยแก้ไขภาวะอ้าปากได้น้อย (ขากรรไกรยึด) 7220 Views

องค์ความรู้/เทคโนโลยี

        วิธีการออกแบบและสร้าง “อุปกรณ์ช่วยแก้ไขภาวะอ้าปากได้น้อย”  ผลิตจากวัสดุที่ใช้ทางการแพทย์ มีคุณภาพดี เพื่อช่วยเหลือและรักษาอาการภาวะอ้าปากจำกัด เช่น ผู้ป่วยที่มีภาวะขากรรไกรยึด ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งที่ศรีษะและคอ

รายละเอียด

         “ภาวะอ้าปากได้น้อย” หรือ “ภาวะขากรรไกรยึด” (Trismus) คือ ภาวะที่ผู้ป่วยสามารถอ้าปากได้น้อยกว่าระยะปกติ (ระยะ 35 มิลลิเมตร) เกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อ การบาดเจ็บ การใช้ยาบางชนิด ความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร โดยสาเหตุหลักมาจากการผ่าตัดและการได้รับรังสีรักษาเพื่อรักษามะเร็งที่เกิดขึ้นบริเวณศีรษะและลำคอ  สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ในการรักษาภาวะอ้าปากได้น้อยที่มีประสิทธิภาพเป็นอุปกรณ์ที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งมีข้อจำกัดในการใช้งานและมีราคาแพง เครื่องมือที่สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัยในต่างประเทศมีราคาอยู่ประมาณห้าหมื่นถึงสองแสนบาท ทำให้ไม่มีการนำเข้ามาใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยในประเทศไทย ดังนั้นผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดและได้รับรังสีรักษาในบริเวณที่เกิดภาวะแทรกซ้อนนี้ตามมาจึงไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม ผู้ป่วยไม่สามารถดูแลรักษาทำความสะอาดช่องปากด้วยตนเองได้ ผู้ป่วยส่วนมากรับอาหารทางสายเข้าทางจมูก นอกจากจะทำให้เกิดทุพโภชนาการแล้ว ยังมีผลกระทบทางสังคมตามมาเช่นการดำรงชีวิต จำเป็นต้องมีผู้อื่นมาดูแล ไม่สามารถใช้ชีวิตและทำงานตามปกติได้

        “อุปกรณ์ช่วยแก้ไขภาวะอ้าปากได้น้อย” ได้รับการพัฒนาคิดค้นขึ้นโดยนักวิจัยไทยที่เป็นทันตแพทย์และเป็นวิศวกร เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีภาวะขากรรไกรยึดหรือผู้ที่มีภาวะอ้าปากจำกัด อุปกรณ์ผลิตจากวัสดุที่ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยทางห้องปฏิบัติการทางวิศวกรรม  คุณภาพดี มีราคาไม่แพง ได้รับการออกแบบให้มีความเหมาะสมและยืดหยุ่นต่อบริเวณช่องปากของผู้ป่วย สามารถนำกลับมาใช้ในผู้ป่วยอื่นได้ และช่วยให้ผู้ป่วยที่มีภาวะขากรรไกรยึด สามารถอ้าปากได้มากขึ้น อีกทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาผู้ป่วย พยาบาล ผู้ดูแลผู้ป่วยให้สามารถติดตามดูแลและรักษาความสะอาดหลังการผ่าตัดในบริเวณช่องปากได้ รวมทั้งประโยชน์ด้านทันตกรรมต่างๆ  นอกจากนี้ ยังทำให้การช่วยเหลือผู้ป่วยกลุ่มนี้ในภาวะฉุกเฉิน สามารถทำได้โดยไม่เสียเวลานานในการใส่ท่อช่วยหายใจ เป็นการลดอัตราการเสียชีวิตหรือเกิดทุพพลภาพอีกด้วย

จุดเด่น

  • ได้รับการออกแบบให้มีความเหมาะสมและยืดหยุ่นต่อบริเวณช่องปากของผู้ป่วย
  • ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยทางห้องปฏิบัติการ
  • สามารถใช้ได้สะดวก พกพาได้ และนำกลับมาใช้ในผู้ป่วยอื่นได้โดยปลอดภัย

ตลาด/กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

  • กลุ่มทันตแพทย์และบุคลากรทางด้านทันตกรรม
  • ผู้สนใจทั่วไป
พูดคุยกับเจ้าของเทคโนโลยี
-
รศ.ดร.ทพญ.ศรัญญา,ผศ.ดร.ศุภชัญ รศ.ศุภชัยและทพญ.สุภัสสรา
สถานะผลงาน
ระดับถ่ายทอด (Transfer)
  • Initial
  • Experimental
  • Prototype
  • Transfer
ความต้องการ
  • ต้องการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับผู้ที่สนใจเพื่อผลิตเชิงพาณิชย์

ผู้เหมาะนำเทคโนโลยีไปลงทุน

  • ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เพื่อการแพทย์และสุขภาพ
  • ผู้สนใจทั่วไป

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

ผู้สมัครสามารถสมัครโปรแกรม / ทุนสนับสนุนที่เกี่ยวข้องด้านล่างภายหลังการจับคู่ผ่านระบบสำเร็จ