วิธีการออกแบบและสร้าง “เครื่องสำรองไฟจากเซลล์เชื้อเพลิงสำหรับสถานีสื่อสารโทรคมนาคม” ใช้สำหรับทดแทนการใช้เครื่องสำรองไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ต้นทุนผลิตต่ำ ประสิทธิภาพสูง ใช้พื้นที่ติดตั้งน้อย และไม่สร้างมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม
ผู้ประกอบการในธุรกิจโทรนาคมจำเป็นต้องมีโครงข่ายที่ทั่วถึงและตัวระบบโครงข่ายต้องมีไฟฟ้าเลี้ยงระบบอยู่ตลอดเวลา โดยในสถานีฐานเครือข่ายทุกสถานีจะมีระบบพลังงานสำรองหรือ UPS (Uninterruptible Power Supply) เพื่อให้สามารถทำงานได้ต่อเนื่องในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินหรือระบบไฟฟ้าขัดข้อง ซึ่งตัวระบบ UPS ในปัจจุบันมีจุดอ่อนคือ ต้องใช้พื้นที่ในการติดตั้งมาก ทำให้พื้นที่การตั้งสถานีเครือข่ายต้องมีขนาดใหญ่ตามระบบสำรองไฟตามไปด้วย ส่งผลทำให้มีค่าใช้จ่ายในด้านพื้นที่ติดตั้งสูงตามมา และยังไม่รวมค่าบำรุงรักษาต่อเนื่องหรือการเปลี่ยนแบตเตอรี่ทุก ๆ 3 ปี ถึงแม้จะไม่ได้ใช้งานตัว UPS เลยก็ตาม
“เครื่องสำรองไฟจากเซลล์เชื้อเพลิงสำหรับสถานีสื่อสารโทรคมนาคม” ได้รับการพัฒนาคิดค้นโดยใช้เซลล์เชื้อเพลิงไฟฟ้าชนิดเยื่อแลกเปลี่ยนโปรตอน (Proton Exchange Membrane Fuel Cell : PEMFC) ซึ่งเป็นเชลล์พลังงานที่ใช้หลักการทางไฟฟ้าเคมีโดยใช้ไฮโดเจนเป็นสารตั้งต้นในการสร้างพลังงานไฟฟ้าและผลผลิตพลอยได้คือน้ำบริสุทธิ์ ไม่มีของเสียอื่น ๆ (ในระบบเดิมที่ใช้แบตเตอรี่จะมีก๊าซพิษกักอยู่ในอากาศภายในภาชนะ) ไม่สร้างมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมหลังจากหมดอายุการใช้งาน เนื่องจากไม่มีการเผาไหม้ จึงไม่มีการสร้างก๊าซเรือนกระจก ในปัจจุบันในประเทศไทยเซลล์พลังงานชนิดนี้ไม่เป็นที่รู้จักมากนักแต่แนวโน้มในอนาคตจะเป็นที่ต้องการมากขึ้น ผู้พัฒนาเทคโนโลยีได้วิจัยและพัฒนาหลักการทำงานเพื่อผลิตกระไฟฟ้าโดยให้ใช้ปฏิกิริยาทางเคมี และใช้พื้นที่ติดตั้งน้อยกว่าระบบ UPS ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เช่น หากต้องการ 1 MW จะใช้พื้นที่เท่ากับตู้คอนเทนเนอร์ 40 ฟุต รวมไปถึงมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า ทำให้ต้นทุนในการตั้งสถานีฐานเครือข่ายต่ำลง นอกจากนี้เทคโนโลยีนี้ยังสามารถประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ได้ เช่น เครื่องสำรองไฟฟ้าภายในครัวเรือน เครื่องผลิตไฟฟ้าขนาดพกพา (Portable Power Generator) โรงไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (Very Small Power Plant) รถยนต์เซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell Vehicle) ระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้า (Energy Storage) หรือสถานีอัดประจุไฟฟ้า สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า (EV Charging Station) เป็นต้น
ผู้เหมาะนำเทคโนโลยีไปลงทุน
วิธีการออกแบบและสร้าง “เครื่องสำรองไฟจากเซลล์เชื้อเพลิงสำหรับสถานีสื่อสารโทรคมนาคม” ใช้สำหรับทดแทนการใช้เครื่องสำรองไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ต้นทุนผลิตต่ำ ประสิทธิภาพสูง ใช้พื้นที่ติดตั้งน้อย และไม่สร้างมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม
ผู้ประกอบการในธุรกิจโทรนาคมจำเป็นต้องมีโครงข่ายที่ทั่วถึงและตัวระบบโครงข่ายต้องมีไฟฟ้าเลี้ยงระบบอยู่ตลอดเวลา โดยในสถานีฐานเครือข่ายทุกสถานีจะมีระบบพลังงานสำรองหรือ UPS (Uninterruptible Power Supply) เพื่อให้สามารถทำงานได้ต่อเนื่องในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินหรือระบบไฟฟ้าขัดข้อง ซึ่งตัวระบบ UPS ในปัจจุบันมีจุดอ่อนคือ ต้องใช้พื้นที่ในการติดตั้งมาก ทำให้พื้นที่การตั้งสถานีเครือข่ายต้องมีขนาดใหญ่ตามระบบสำรองไฟตามไปด้วย ส่งผลทำให้มีค่าใช้จ่ายในด้านพื้นที่ติดตั้งสูงตามมา และยังไม่รวมค่าบำรุงรักษาต่อเนื่องหรือการเปลี่ยนแบตเตอรี่ทุก ๆ 3 ปี ถึงแม้จะไม่ได้ใช้งานตัว UPS เลยก็ตาม
“เครื่องสำรองไฟจากเซลล์เชื้อเพลิงสำหรับสถานีสื่อสารโทรคมนาคม” ได้รับการพัฒนาคิดค้นโดยใช้เซลล์เชื้อเพลิงไฟฟ้าชนิดเยื่อแลกเปลี่ยนโปรตอน (Proton Exchange Membrane Fuel Cell : PEMFC) ซึ่งเป็นเชลล์พลังงานที่ใช้หลักการทางไฟฟ้าเคมีโดยใช้ไฮโดเจนเป็นสารตั้งต้นในการสร้างพลังงานไฟฟ้าและผลผลิตพลอยได้คือน้ำบริสุทธิ์ ไม่มีของเสียอื่น ๆ (ในระบบเดิมที่ใช้แบตเตอรี่จะมีก๊าซพิษกักอยู่ในอากาศภายในภาชนะ) ไม่สร้างมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมหลังจากหมดอายุการใช้งาน เนื่องจากไม่มีการเผาไหม้ จึงไม่มีการสร้างก๊าซเรือนกระจก ในปัจจุบันในประเทศไทยเซลล์พลังงานชนิดนี้ไม่เป็นที่รู้จักมากนักแต่แนวโน้มในอนาคตจะเป็นที่ต้องการมากขึ้น ผู้พัฒนาเทคโนโลยีได้วิจัยและพัฒนาหลักการทำงานเพื่อผลิตกระไฟฟ้าโดยให้ใช้ปฏิกิริยาทางเคมี และใช้พื้นที่ติดตั้งน้อยกว่าระบบ UPS ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เช่น หากต้องการ 1 MW จะใช้พื้นที่เท่ากับตู้คอนเทนเนอร์ 40 ฟุต รวมไปถึงมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า ทำให้ต้นทุนในการตั้งสถานีฐานเครือข่ายต่ำลง นอกจากนี้เทคโนโลยีนี้ยังสามารถประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ได้ เช่น เครื่องสำรองไฟฟ้าภายในครัวเรือน เครื่องผลิตไฟฟ้าขนาดพกพา (Portable Power Generator) โรงไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (Very Small Power Plant) รถยนต์เซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell Vehicle) ระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้า (Energy Storage) หรือสถานีอัดประจุไฟฟ้า สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า (EV Charging Station) เป็นต้น