เครื่องมือช่วยวินิจฉัยและติดตามผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน 1581 Views

องค์ความรู้/เทคโนโลยี

       วิธีการออกแบบและผลิต “เครื่องมือในการตรวจวินิจฉัยและติดตามผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน” ช่วยวิเคราะห์อาการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติของโรคพาร์กินสัน สามารถแยกผู้ป่วยจากภาวะอื่นที่มีอาการสั่นคล้ายคลึงกับโรคพาร์กินสันได้ ส่งผลให้การวินิจฉัยโรคพาร์กินสันมีความแม่นยำมากขึ้น รวมทั้งเป็นประโยชน์ต่อการประเมินติดตามอาการผู้ป่วยในระหว่างการรักษา

รายละเอียด

       “โรคพาร์กินสัน”  เป็นโรคความเสื่อมของระบบประสาทที่พบได้มากกว่าร้อยละ 50 ในกลุ่มผู้ป่วยโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ (Movement Disorders) เซลล์ประสาทในสมองของผู้ป่วยจะเสื่อมลงอย่างต่อเนื่อง เป็นผลให้เกิดอาการหลักทางการเคลื่อนไหวของโรคพาร์กินสัน ได้แก่ อาการสั่นเมื่ออยู่นิ่ง (Resting tremor) การเคลื่อนไหวช้า (Bradykinesia) แข็งเกร็ง (Rigidity) การเดินติดขัดและเสียการทรงตัว ในปัจจุบัน การวินิจฉัยโรคพาร์กินสันนั้นค่อยข้างเป็นไปด้วยความยากลำบาก ต้องอาศัยแพทย์ที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญสูงเพื่อการวินิจฉัยที่แม่นยำ เนื่องจากมีอาการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติหลายอย่างที่คล้ายคลึงกับโรคพาร์กินสัน โดยโรคที่มีอาการเคลื่อนไหวผิดปกติแต่ละโรคนั้นมีแนวทางการรักษาที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

       “เครื่องมือช่วยวินิจฉัยและติดตามผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน” ได้รับการพัฒนาคิดค้นโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยา เพื่อใช้วิเคราะห์อาการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติของโรคพาร์กินสัน และแยกผู้ป่วยจากภาวะอื่นที่มีอาการสั่นคล้ายคลึงกับโรคพาร์กินสันได้ ช่วยทำให้การวินิจฉัยโรคพาร์กินสันมีความแม่นยำมากขึ้น รวมทั้งเป็นประโยชน์ต่อแพทย์ในการประเมินติดตามอาการผู้ป่วยในระหว่างการรักษา ผลงานวิจัยนับว่ามีประโยชน์อย่างสูงในวงการแพทย์ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันได้รับการวินิจฉัยและรักษาได้อย่างรวดเร็วและทันท่วงที รวมทั้งเป็นอุปกรณ์สำหรับนำไปใช้วินิจฉัย ประเมินติดตามการรักษาผู้ป่วยโรคพาร์กินสันในโรงพยาบาลที่ไม่มีแพทย์เฉพาะทางได้

จุดเด่น

  • สามารถนำเครื่องมือตรวจวัดและวิเคราะห์อาการสั่นไปใช้ช่วยในการวินิจฉัยโรคพาร์กินสันและวินิจฉัยแยกโรคอื่นที่มีลักษณะการสั่นใกล้เคียงกัน รวมถึงใช้ในการติดตามประเมินผลการรักษาผู้ป่วยโรคพาร์กินสันเพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
  • แพทย์ที่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาการเคลื่อนไหวผิดปกติหรือสาขาประสาทวิทยาสามารถนำเครื่องมือไปใช้ในการตรวจอาการสั่นของผู้ป่วยเพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคได้อย่างแม่นยำ ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้อง

ตลาด/กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

  • โรงพยาบาลภายในประเทศและต่างประเทศ คลินิกแพทย์อายุรกรรมและแพทย์ทั่วไป
  • ผู้ป่วยพาร์กินสันที่มีปัญหาอาการสั่น ใช้ในการติดตามอาการของตนเอง
  • โรงเรียนแพทย์และพยาบาล เพื่อใช้เป็นอุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอนในผู้ป่วยจริง
พูดคุยกับเจ้าของเทคโนโลยี
.
รุ่งโรจน์ พิทยศิริ
สถานะผลงาน
ระดับต้นแบบ (Prototype)
  • Initial
  • Experimental
  • Prototype
  • Transfer
ความต้องการ

ต้องการถ่ายทอดเทคโนโลยีและร่วมพัฒนาต่อยอดกับผู้สนใจ

ผู้เหมาะนำเทคโนโลยีไปลงทุน

  • บริษัทผู้ผลิตเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ อุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์
  • ผู้สนใจทั่วไป

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

ผู้สมัครสามารถสมัครโปรแกรม / ทุนสนับสนุนที่เกี่ยวข้องด้านล่างภายหลังการจับคู่ผ่านระบบสำเร็จ