วิธีการออกแบบและสร้าง “อุปกรณ์รองรับช่วยแยกขยะจากการทำแผล” ที่สามารถคัดแยกวัสดุเหลือทิ้งที่เกิดจากการทำแผล เช่น ผ้าก๊อซ สำลี ออกจากสารคัดหลั่งหรือของเหลวติดเชื้ออื่นๆ ช่วยลดขั้นตอนในการแยกขยะ ลดการแพร่เชื้อให้แก่บุคลากรทางการแพทย์
ในการล้างแผลให้ผู้ป่วยตามโรงพยาบาล ขยะจากวัสดุที่ใช้ทำแผล เช่น ผ้าก๊อซ สำลี และของเหลวจากสารคัดหลั่ง จะใช้ภาชนะรองรับชิ้นเดียวกัน ซึ่งการคัดแยกขยะวัสดุทำแผลติดเชื้อออกจากของเหลวล้างแผลและสารคัดหลั่งติดเชื้อในภายหลังนั้น ทำได้ค่อนข้างลำบากและเป็นภาระงานที่ต้องใช้เวลานาน อีกทั้งมีความเสี่ยงที่บุคลากรทางการแพทย์จะติดเชื้อจากการปนเปื้อนเหล่านี้
“อุปกรณ์รองรับช่วยแยกขยะจากการทำแผล” ได้รับการพัฒนาคิดค้นอุปกรณ์รองรับขยะจากการทำแผลขึ้น เพื่อคัดแยกวัสดุทำแผลและสารคัดหลั่งหรือของเหลวติดเชื้อที่เกิดจากการทำแผลออกจากกัน ช่วยลดขั้นตอนและภาระงานในการแยกขยะติดเชื้อ ส่งแยกทำลายได้ถูกต้อง สะดวกยิ่งขึ้น ที่สำคัญช่วยลดการแพร่เชื้อให้แก่บุคลากรทางการแพทย์
ผู้เหมาะนำเทคโนโลยีไปลงทุน