A. I. for Lives : Better lives in the sustainable and resilient City 488 Views

รายละเอียด

        จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ทำให้การใช้ชีวิตมีความลำบากมากขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสี่ยงที่จะติดเชื้อ จึงต้องมีการปรับตัวเข้าหาวิถีชีวิตใหม่อยู่ตลอดเวลาให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปกติสุขที่สุด จึงได้มีการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เข้ามาช่วยในด้านสุขภาวะ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ช่วยให้ดำเนินธุรกิจได้โดยที่สินค้าและบริการยังมีคุณภาพ การลดโอกาสเสี่ยงในการติดเชื้อจากการทำงาน เป็นต้น       

        "A. I. for Lives : Better lives in the sustainable and resilient City" ได้รับการพัฒนาคิดค้นให้เป็นเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (A.I.) ที่ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต ให้สามารถดำเนินไปได้อย่างปกติภายใต้วิถีชีวิตใหม่ (New Normal Life) โดยใช้ระบบ A.I. ในการตรวจจับภาพถ่ายเพื่อทำ Object Detection, Object Classification ผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ช่วยให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างเป็นระบบ มีระบบตรวจวัดต่างๆ เช่น ระบบวินิจฉัยและคัดกรองโรค ระบบวิเคราะห์พฤติกรรมของการจราจร ระบบคัดแยกและจัดการขยะ ระบบสารสนเทศการระบาดโควิด-19 ระบบวิเคราะห์และติดตามคุณภาพห้องเย็นอัจฉริยะเพื่อให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานของอาหารและยา เป็นต้น นอกจากนี้ ยังทำให้วิถีชีวิตในเมืองสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วภายใต้วิกฤติ จึงเป็นเทคโนโลยีที่สามารถพัฒนาได้อย่างต่อเนื่องและมีความยั่งยืน

จุดเด่น

  • เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (A.I.) ที่ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตในหลายด้าน ให้สามารถดำเนินไปได้อย่างปกติภายใต้วิถีชีวิตใหม่ (New Normal Life)
  • ใช้ระบบ A.I. ในการตรวจจับภาพถ่ายเพื่อทำ Object Detection, Object Classification ผ่านระบบคอมพิวเตอร์
  • มีระบบตรวจวัดต่างๆ เช่น ระบบวินิจฉัยและคัดกรองโรค วิเคราะห์พฤติกรรมของการจราจร ระบบคัดแยกขยะหรือขยะติดเชื้อ ระบบสารสนเทศการะบาดโควิด-19 ระบบวิเคราะห์และติดตามคุณภาพห้องควบคุมความเย็นอัจฉริยะ เพื่อให้ได้คุณภาพมาตรฐานของอาหารและยา เป็นต้น
  • สามารถพัฒนาได้อย่างต่อเนื่องและมีความยั่งยืน

ลูกค้าเป้าหมาย

  • โรงพยาบาล และ สถาณพยาบาล
  • หน่วยงานต่างๆ
  • องค์กรธุรกิจ/เอกชน

ความสำเร็จ

ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้บริษัทเอกชนแล้ว

มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Admin Tech2biz
ข้อมูลจำเพาะผลิตภัณฑ์ / ความสำเร็จ
สถานภาพด้านทรัพย์สินทางปัญญา
อยู่ระหว่างดำเนินการ
เจ้าของผลงาน
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ผู้ประดิษฐ์
รศ.ดร.วนิดา แก่นอากาศ
หน่วยงานที่รับถ่ายทอดเทคโนโลยี
โรงพยาบาลศรีนครินทร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด, วีที แหนมเนือง, เทศบาลมหานครขอนแก่น