วิธีการออกแบบและสร้าง “ชุดผลิตคอนกรีตเซลลูลาร์” ราคาประหยัด ได้มาตรฐานสูง ซ่อมบำรุงได้ง่าย ลดการนำเข้าเครื่องจักรจากต่างประเทศ
คอนกรีตเป็นวัสดุหลักในงานก่อสร้าง แต่เนื่องจากเป็นวัสดุที่มีคุณสมบัตินำความร้อนสูง จึงส่งผลให้ภายในตัวอาคารมีอุณหภูมิสูงตาม ปัจจุบันจึงนำคอนกรีตมวลเบา ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นฉนวนกันความร้อนได้ดีมาปรับใช้ในงานก่อสร้าง โดยคอนกรีตมวลเบาชนิดรูพรุนแบบเซลลูล่า มีกระบวนการผลิตที่ง่าย ต้นทุนต่ำ ใช้โฟมเหลวเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดฟองอากาศภายใน ซึ่งจะทำให้มีคุณสมบัติลดการนำความร้อน ประหยัดพลังงาน น้ำหนักเบา และไม่มีสารประกอบของหินที่ก่อให้เกิดมลภาวะจากฝุ่น นับเป็นเป็นทางเลือกใหม่ของอุตสาหกรรมก่อสร้างในประเทศไทย
“ชุดผสมคอนกรีตเซลลูล่า” ได้รับการคิดค้นและพัฒนาเพื่อให้ได้เครื่องมือที่ใช้งานง่าย ลดการนำเข้าเครื่องมือจากต่างประเทศ โดยใน 1 ชุด ประกอบด้วย
1. เครื่องผสมคอนกรีตเซลลูล่าแบบใบกวนแนวนอน (Concrete Mixture Machine) ออกแบบเพื่อใช้ในการผสมคอนกรีตมวลเบาแบบเติมฟองอากาศ ผ่านการทดสอบและออกแบบให้ตรงตามมาตรฐานสากล (ASTM)
2. เครื่องสร้างฟองโฟมคอนกรีตเซลลูล่าแบบตั้งเวลา (Foam Generator Controller) ออกแบบเพื่อใช้ในการสร้างฟองอากาศ โดยเปลี่ยนจากสภาพของเหลวของน้ำยาสร้างฟองโฟม เป็นฟองโฟมอากาศขนาดเล็ก ที่จะแทรกเข้าไปในมอร์ต้า ( ซีเมนต์+ทราย+น้ำ )
3. น้ำยาสร้างฟองโฟมคอนกรีตเซลลูล่า (Foam Agent) สารผสมเพิ่มชนิดหนึ่งที่ผสมกับมอร์ต้า แล้วทำให้เกิดฟองอากาศเข้าไปแทรกในมอร์ต้า เรียกว่า คอนกรีตเซลลูล่า เป็นสูตรพิเศษที่ได้รับการพัฒนาคิคด้นโดยใช้สารสกัดจากพืช มีความคงทนของฟองสูง และมีประสิทธิภาพเทียบเท่าน้ำยาในท้องตลาด
4. โปรแกรมออกแบบสัดส่วนคอนกรีตเซลลูล่า (Mix Design program) สามารถคำนวนและออกแบบสัดส่วนของส่วนผสมและคาดการณ์กำลังอัดที่ต้องการได้ สามารถเพิ่มส่วนผสมอื่น ๆ เข้าไปในโปรแกรม รองรับการเชื่อมต่อแบบพีแอลซี เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งานและสามารถนำไปใช้ได้กับน้ำยาสร้างฟองโฟม และเครื่องมือจากแหล่งอื่น มีความแม่นย่ำ สามารถควบคุมความหนาแน่นได้ตรงตามมาตราฐานของผลิตภัณฑ์
คุณสมบัติผู้สมัคร