โครงการทุนบูรณาการเพื่อความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ Thailand MED TECH Excellence Fund (TMTE Fund) 1816 Views

รายละเอียด

ชื่อทุน:

โครงการทุนบูรณาการเพื่อความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ Thailand MED TECH Excellence Fund (TMTE Fund)

หน่วยงาน:

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

ระยะเวลารับสมัคร:

ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2562  เวลา 24.00 น

วงเงินที่ให้การสนับสนุน:

เป็นทุนอุดหนุนสมทบบางส่วน (Matching Grant/Fund) ดังนี้ 

  • เพื่อทำ market validation วงเงินไม่เกิน 1 ล้านบาท (ไม่เกิน 90% ของมูลค่าโครงการที่ได้รับอนุมัติ) 
  • เพื่อปรับปรุงต้นแบบ วงเงินตามความเหมาะสม แต่ไม่เกิน 80% ของมูลค่าโครงการที่ได้รับอนุมัติ 
  • เพื่อทดสอบต้นแบบ วงเงินตามความเหมาะสม แต่ไม่เกิน 80% ของมูลค่าโครงการที่ได้รับอนุมัติ ได้แก่ Product testing , Pre-Clinical , Clinical Trials และ Manufactural Standard
  • เพื่อทดสอบตลาด ค่าที่ปรึกษาด้านการตลาด วงเงินไม่เกิน 1 ล้านบาท (ไม่เกิน 90% ของมูลค่าโครงการที่ได้รับอนุมัติ) 
  • เพื่อพัฒนาด้านการตลาด วงเงินไม่เกิน 0.8 ล้านบาท (ไม่เกิน 75% ของมูลค่าโครงการที่ได้รับอนุมัติ)

รายละเอียด:

ด้วยสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เดิม) โดยคณะอนุกรรมการสถาบันอุดมศึกษาร่วมภาคเอกชน พัฒนาการศึกษา การวิจัย นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ เห็นชอบให้ดำเนินการโครงการทุนบูรณาการเพื่อความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ Thailand MED TECH Excellence Fund (TMTE Fund) มีเป้าหมายเพื่อให้ภาคส่วนต่างๆ มาบูรณาการเพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ไปใช้ประโยชน์และสู่เชิงพาณิชย์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนทุนด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ ตามระดับความพร้อมด้านเทคโนโลยี (Technology Readiness Levels : TRL) ตั้งแต่ขั้นตอนของการตรวจสอบความต้องการของตลาด (Market Validation) ไปจนถึงขั้นตอนการผลิตสู่เชิงพาณิชย์ (Commercial Production) โดยร่วมมือกับกลุ่มหน่วยงานให้ทุนวิจัยต่างๆ ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เดิม) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) และกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม และร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกระบวนการสนับสนุนเพื่อผลักดันงานวิจัยไปสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ 

กรอบ / ประเด็นให้การสนับสนุน:

โครงการที่เสนอขอรับการสนับสนุน ต้องเป็นโครงการที่เป็นผลงานที่เกิดจาก Medical Technology ที่ครอบคลุมทั้งผลิตภัณฑ์ และบริการ เช่น วัสดุ เครื่องมือ อุปกรณ์และบริการทางการแพทย์และสุขภาพ โดยมีเป้าหมายเพื่อดูแลผู้ป่วยตั้งแต่การป้องกัน (Prevention) การส่งเสริมสุขภาพ (Health Promotion) การค้นหาและวินิจฉัย (Diagnostic) การเยียวยา (Treatment) การฟื้นฟู (Rehabilitation) เพื่อเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วย และการช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์ ตลอดจนการพัฒนาสุขภาพ/คุณภาพชีวิตประชาชน โดยมุ่งเน้น 

  • นวัตกรรมเพื่อสังคมผู้สูงอายุ หรือ 
  • นวัตกรรมเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพ ลดการนำเข้า และการพึ่งพาตัวเองของประเทศ หรือ 
  • เป็นนวัตกรรมที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์ในระดับโลก หรือ 
  • โครงการที่มีแนวโน้มผลิตสินค้า/บริการ ออกสู่ตลาดภายใน 3 - 5 ปี จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ

คุณสมบัติของผู้ขอรับทุน:

  • ผู้เสนอขอโครงการจะต้องเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจตามกฎหมายไทย และมีคนไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่า 51% หรือ นักวิจัย (ในกรณีที่ยังไม่ได้จดทะเบียนนิติบุคคลตามข้างต้น สามารถยื่นคำขอรับการสนับสนุนในนามบุคคลธรรมดาก่อน แล้วจึงจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลในภายหลัง ก่อนวันลงนามสัญญารับการสนับสนุนได้) หรือ  เป็นนักวิจัยที่จับคู่กับนิติบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจตามกฎหมายไทย และมีคนไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่า 51% (ต้องมีการดำเนินงานด้านการพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ หรือมีความร่วมมืออื่นที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมร่วมกับสถาบันอุดมศึกษา หรือสถาบันวิจัย
  • ทุนจดทะเบียนร่วมไม่เกิน 20 ล้านบาท หรือมูลค่าบริษัทไม่เกิน 200 ล้านบาท

เงื่อนไข:

  1. โจทย์/หัวข้อวิจัยต้องเป็นความต้องการของผู้ใช้ (Demand pull) โดยมีเป้าหมายการวิจัย การนำผลงานวิจัยไปใช้ และมีแผนธุรกิจ (Business Model) ที่ชัดเจน
  2. ผลิตภัณฑ์หรือบริการจะต้องผ่านการทดสอบความเป็นไปได้ (Proof of concept) มาก่อน
  3. ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่จะพัฒนามีศักยภาพ มีโอกาสขยายผล รวมถึงสร้างผลกระทบ (impact) ในเชิงเศรษฐกิจและสังคมในวงกว้างและมีมูลค่าสูง
  4. องค์ความรู้หรือเทคโนโลยีที่จะพัฒนามีความเป็นไปได้ โอกาสสำเร็จในการพัฒนา รวมถึงการออกสู่ตลาด โดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ อาทิ ขนาดและการเติบโตของตลาด ความสามารถในการแข่งขัน ความร่วมมือกับผู้ประกอบการ/ผู้ใช้ในโครงการวิจัย เป็นต้น
  5. ผลงานที่ขอรับทุนมีแนวทางในการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาและไม่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของบุคคลอื่น และสามารถเจรจาในการบริหารทรัพย์สินทางปัญญาร่วมกัน ทั้งนี้ กลุ่มหน่วยงานให้ทุนวิจัยต่างๆ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตามเกณฑ์ของแต่ละแหล่งทุน

ติดต่อสอบถาม:

โทรศัพท์ 02-610-5331, 5299

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
Admin Tech2biz
เหมาะสำหรับ
  • อาจารย์ นักวิจัย
  • ผู้ประกอบการ บุคคลทั่วไป
ระยะเวลารับสมัคร
หมดเขตรับสมัครแล้ว