รายละเอียด
ชื่อทุน:
ทุนวิจัยสมุนไพรไทยเพื่อความมั่นคงทางสุขภาพและความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ
หน่วยงาน:
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)
ระยะเวลารับสมัคร:
วันที่ 18 มกราคม 2564 - 5 มีนาคม 2564
วงเงินที่ให้การสนับสนุน:
ไม่จำกัดวงเงินงบประมาณ (โดยต้องเหมาะสมกับปริมาณงานและวิธีการดำเนินงานวิจัย)
รายละเอียด:
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. เป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีวิสัยทัศน์ว่า “สวก. เป็นผู้นำในการบริหารการวิจัยการเกษตร เพื่อสร้างความเข้มแข็งของภาคการเกษตรอย่างยั่งยืน” โดยเน้นการสนับสนุนทุนวิจัยที่จะก่อให้เกิดประโยชน์เพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เป็นไปตามเป้าหมายและตัวชี้วัด (OKR) ระดับประเทศตามนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.) ในโปรแกรมที่ 17 การแก้ปัญหาวิกฤติของประเทศ และแพลตฟอร์มที่ 2 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ท้าทายของสังคม โปรแกรมที่ 7 โจทย์ท้าทายด้านทรัพยากร สิ่งแวดล้อม และการเกษตร และจัดทำเป็นแผนงานและกรอบงบประมาณส่งให้กับกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (กองทุน ววน.) รวบรวมเป็นงบประมาณของกองทุน ววน.ของประเทศต่อไป
กรอบ / ประเด็นให้การสนับสนุน:
แผนงานย่อยที่ 1: การพัฒนาต่อยอดสมุนไพรไทย Product Champion (กวาวเครือขาว กระชายดำ ขมิ้นชัน บัวบก มะขามป้อม กระชาย พริก ฟ้าทะลายโจร กระเจี๊ยบแดง หญ้าหวาน ว่านหางจระเข้ และไพล) และสมุนไพรที่มีศักยภาพสูงให้เป็นผลิตภัณฑ์คุณภาพเพื่อการแข่งขันในตลาดโลก
- เพื่อพัฒนาสารสกัดพร้อมใช้จากสมุนไพร Product Champion และสมุนไพรที่มีศักยภาพสูงที่มี ราคาถูกสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ สําหรับใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ยา และเครื่องสําอาง
-
เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร Product Champion และสมุนไพรที่มีศักยภาพสูง ได้แก่ ยา แผนโบราณ (Traditional herbal medicines) ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสุขภาพ และผลิตภัณฑ์สําหรับใช้ภายนอก
-
เพื่อศึกษาวิจัยทางคลินิกในการประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์จาก สมุนไพร Product Champion และสมุนไพรที่มีศักยภาพสูง สําหรับใช้ประกอบการขึ้นทะเบียนกับสํานักงาน คณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
-
เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการระบบ Certificate of analysis (COA) ให้กับสารสกัดจากสมุนไพร Product Champion และสมุนไพรที่มีศักยภาพสูงที่ผลิตในประเทศ
แผนงานย่อยที่ 2: การสร้างศักยภาพสมุนไพรไทยที่มีโอกาสเป็น New Product Champion
เพื่อพัฒนาสมุนไพรไทยที่มีศักยภาพเพื่อป้องกัน รักษาโรค ส่งเสริมความงามและสุขภาพ ที่มี โอกาสขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์กับสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
-
เพื่อพัฒนาสมุนไพรไทยที่มีศักยภาพในการสร้างเสริมสุขภาพ การเจริญเติบโต การป้องกันและ รักษาโรคในสัตว์เศรษฐกิจและสัตว์เลี้ยง รวมถึงการใช้สมุนไพรทดแทนยาปฏิชีวนะเพื่อลดการเกิดเชื้อดื้อยาในสัตว์
-
เพื่อพัฒนาสมุนไพรไทยที่มีศักยภาพในการส่งเสริมการเจริญเติบโต การควบคุมแมลง และ ปราบศัตรูพืชหรือวัชพืชในพืชเศรษฐกิจ
-
พัฒนาสมุนไพรไทยและตํารับยาสมุนไพรไทยได้มาตรฐานให้เป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ
-
พัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถส่งเสริมการผลิตสมุนไพรให้มีปริมาณเพียงพอและได้มาตรฐาน อย่างครบวงจร ลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการผลิตตอบสนองและแข่งขันในตลาดโลกได้
-
เพื่อการวิจัยเชิงนโยบายในการส่งเสริมให้เกิดผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยคุณภาพที่เป็น เอกลักษณ์และอัตลักษณ์ระดับประเทศ และได้แนวทางการผลักดันให้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยคุณภาพออกสู่ตลาด ได้อย่างแท้จริง
คุณสมบัติของผู้ขอรับทุน:
ผู้มีสิทธิขอรับทุนจะต้องเป็นบุคลากรในภาครัฐหรือเอกชนที่มีสภาพเป็นนิติบุคคล โดยมีลักษณะดังนี้
-
มีสัญชาติไทย มีถิ่นพํานักถาวรในประเทศไทย และมีหลักฐานการทํางานมั่นคง
-
มีศักยภาพในการบริหารการวิจัยและ/ หรือการบริหารจัดการ
-
มีความรู้ความสามารถเป็นอย่างดีในวิทยาการด้านใดด้านหนึ่งเกี่ยวกับการวิจัยในข้อเสนอการวิจัยที่ขอรับทุนมีศักยภาพ ความพร้อมด้านวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการวิจัยที่จะดําเนินการวิจัยได้สําเร็จ
-
สามารถปฏิบัติงานและควบคุมการวิจัยได้ตลอดระยะเวลาที่ได้รับทุน รวมทั้งสามารถดําเนินการวิจัยให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่กําหนดอย่างมีคุณภาพ
-
ผู้บังคับบัญชาสูงสุดของหน่วยงานระดับอธิบดี อธิการบดี หรือเทียบเท่าของภาครัฐที่ผู้อํานวยการแผนงานสังกัดอยู่หรือกรรมการผู้จัดการใหญ่หรือเทียบเท่าในส่วนของภาคเอกชน ให้ความเห็นชอบและรับรอง
-
เป็นผู้มีจริยธรรมตามจรรยาบรรณนักวิจัย
เงื่อนไข :
ข้อเสนอการวิจัยต้องมีลักษณะครบถ้วนทุกข้อ ดังต่อไปนี้
- มีประเด็นวิจัยสอดคล้องกับเป้าหมาย (Objectives) และผลสัมฤทธิ์ที่สําคัญ (Key Results) และกรอบการวิจัยตามประกาศนี้
-
ข้อเสนอโครงการวิจัยต้องมีจุดประสงค์ที่ชัดเจน และไม่จําเป็นต้องมีหลายข้อ
-
คณะผู้วิจัยมีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในการทํางานวิจัยในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
-
ข้อเสนอโครงการจะต้องมีงบประมาณที่เหมาะสม และระบุขอบเขตของแผนการดําเนินงานพร้อมทั้งมีระยะการวิจัยที่ชัดเจน
-
ข้อเสนอโครงการวิจัยที่เสนอขอรับการสนับสนุนทุนวิจัย ต้องมีเป้าหมายของผลผลิตและผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม สามารถนําไปใช้ประโยชน์ได้จริง
-
ข้อเสนอโครงการควรมีการร่วมมือระหว่างภาคเอกชน สถาบันวิจัย หน่วยงานของรัฐและสถาบันการศึกษา ตลอดจนเครือข่ายวิสาหกิจ เพื่อเชื่อมโยงการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยต่อไป
-
ข้อเสนอการวิจัยหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของข้อเสนอการวิจัยนี้ ต้องไม่อยู่ในข้อเสนอการวิจัยที่ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากแหล่งทุนวิจัยอื่น กรณีมีการต่อยอดจากงานวิจัยเดิมต้องแสดงขอบเขตการ ดําเนินงานระหว่างงานเดิม และงานใหม่และต้องมีหนังสือยินยอมจากหน่วยงานเจ้าของผลงานเดิม ให้นักวิจัยนําทรัพย์สินทางปัญญาจากการวิจัยมาดําเนินการวิจัยต่อยอด หาก สวก.ตรวจพบว่า ข้อเสนอการวิจัยดังกล่าวได้รับทุนซ้ำซ้อนหรือมีการดําเนินการวิจัยมาแล้ว สวก. ขอสงวนสิทธิ์ในการยกเลิกการสนับสนุนทุนวิจัย และเรียกเงินทุนวิจัยคืน
-
กรณีโครงการวิจัยเป็นการดําเนินงานในลักษณะการวิจัยร่วม (Co-funding) ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณ ครุภัณฑ์ หรือสิ่งก่อสร้าง จากหน่วยงานอื่น ให้แสดงรายละเอียดการสนับสนุนดังกล่าว โดยระบุงบประมาณในแต่ละรายการในข้อเสนอการวิจัย พร้อมทั้งแสดงหนังสือรับรองจากหน่วยงานนั้นๆ
-
กรณีที่เป็นการวิจัยที่ใช้คนหรือสัตว์ในการทดลอง จะต้องส่งข้อเสนอการวิจัยพร้อมใบรับรองการอนุมัติให้ดําเนินการวิจัยหรือ Certificate of Approval ที่ออกโดยคณะกรรมการจริยธรรมการ วิจัย ของสถาบันหรือมหาวิทยาลัย และกรณีที่นักวิจัยมีการดําเนินการวิจัยโดยใช้สิ่งมีชีวิตที่ตัดต่อ พันธุกรรม (GMO) ให้ปฏิบัติตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง
-
กรณีที่เป็นโครงการความร่วมมือกับสถาบันหรือนักวิจัยต่างประเทศ ให้ปฏิบัติตามระเบียบสภาวิจัยแห่งชาติว่าด้วยการอนุญาตให้นักวิจัยชาวต่างประเทศเข้ามาทําการวิจัยในประเทศไทย พ.ศ.2550
-
กรณีเป็นโครงการวิจัยที่มีการเข้าถึงทรัพยากรชีวภาพ ให้ปฏิบัติตามระเบียบคณะกรรมการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการในการเข้าถึงทรัพยากรชีวภาพ และการได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากทรัพยากรชีวภาพ พ.ศ. 2554
-
หัวหน้าโครงการและนักวิจัยร่วมทุกท่าน ต้องลงนามรับรองในข้อเสนอการวิจัยให้ครบถ้วน
ติดต่อสอบถาม:
โทรศัพท์: 02-579-7435
อีเมล์: support@arda.or.th