ทุนวิจัยมุ่งเป้า
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
ตั้งแต่บัดนี้ไปจนถึงวันที่ 31กรกฎาคม 2561
ไม่จำกัดวงเงินงบประมาณ
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นหน่วยงานหลักในการกำหนดนโยบายวิจัยและนวัตกรรม ซึ่งได้ดำเนินงานบริหารจัดการทุนวิจัยภายใต้แผนงานวิจัยที่มุ่งเป้า เพื่อตอบสนองความต้องการในการพัฒนาประเทศให้มุ่งเน้นการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง ทั้งเชิงพาณิชย์ โยบาย สังคม/ชุมชม และวิซาการ ตลอดจนมีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนในการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ โดย วช. ร่วมมือกับหน่วยงานวิจัยหลักของประเทศ จำนวน 6 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานกองทุน สนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.) สำนักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) และสำนักงาน คณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน. และสำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา (สกอ.) ร่วมกันบริหารจัดการทุน ในนาม "เครื่อข่ายองค์กรบริหารงานวิจัยแห่งชาติ (คอบข.)" และสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) (สพภ.) โดยมีเป้าหมายในการบริหารจัดการระบบงานวิจัยมีความเป็นหนึ่งเดียวกัน มีทิศทางการวิจัยที่สอดคล้องกัน ลดความช้ำซ้อน ต่อยอดผลงานวิจัย เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารเงินวิจัยให้สามารถใช้งบประมาณการวิจัยของประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด
คอบช. จะสนับสนุนการวิจัยภายใต้กรอบการวิจัยที่แนบท้ายประกาศนี้ และผลการวิจัยที่ได้ต้อง มีเป้าหมายของผลผลิตและผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง (เชิงเศรษฐกิจ เชิงสังคม และชุมชน เชิงนโยบาย และเชิงวิชาการ) โดยมีตัวชี้วัดที่แสดงถึงการบรรลุเป้าหมายในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ในด้านความคุ้มค่า ประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ทั้งเชิงปริมาณ คุณภาพ เวลา และต้นทุน ตลอดจนมีกลุ่มเป้าหมายชัดเจนที่จะนำผลผลิตจากงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ และมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ได้รับผลกระทบ ทั้งนี้จะพิจารณาสนับสนุนงบประมาณการวิจัยเป็นรายปี สำหรับโครงการที่มีระยะเวลาดำเนินการวิจัยมากกว่า 1 ปี คอบช. จะพิจารณาถึงผลสำเร็จในปีที่ได้รับทุนก่อนที่จะให้การสนับสนุนในปีต่อไป
ข้อเสนอการวิจัยต้องมีลักษณะครบถ้วนทุกข้อ ดังต่อไปนี้
1. มีประเด็นวิจัยตามกรอบการวิจัยดังแนบท้ายประกาศนี้
2. มีลักษณะเป็นแผนงานวิจัย (แบบ คอบช. 1ช) หรือ โครงการวิจัย (แบบ คอบช. 1ย/1ด) ซึ่งกรณีที่เป็นแผนงานวิจัยต้องประกอบด้วย
2.1ต้องมีโครงการวิจัยย่อยอย่างน้อย 2 โครงการที่สามารถดำเนินการวิจัยในปีแรกที่เสนอขอ รับทุนอุดหนุนการวิจัย
2.2 รายชื่อโครงการวิจัยย่อย โปรดระบุรายละเอียดต่าง ๆ ที่ชัดเจน หรือเป็นแนวคิดในการ ดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายสุดท้ายของแผนงานวิจัย
2.3 รายละเอียดงบประมาณ และตัวชี้วัดแยกรายปีที่เป็นรูปธรรมชัดเจนและสามารถวัดได้จริง
3. มีการบูรณาการงานวิจัยในลักษณะสหสาขาวิชาการ หรือบูรณาการระหว่างหน่วยงาน หรือมีการดำเนินการในพื้นที่เดียวกัน เพื่อให้ได้ผลงานวิจัยที่มีศักยภาพสูงและนำไปสู่วัตถุประสงค์เดียวกัน
4. งบประมาณที่เสนอขอต้องมีรายละเอียดค่าใช้จ่ายเป็นไปตามระเบียบกระทรวงการคลัง และ เหมาะสมกับการดำเนินงานวิจัย
5. ข้อเสนอการวิจัยหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของข้อเสนอการวิจัยนี้ ต้องไม่อยู่ในข้อเสนอการวิจัยที่ได้รับ ทุนอุดหนุนการวิจัยจากแหล่งทุนวิจัยอื่น กรณีมีการต่อยอดจากงานวิจัยเดิมต้องแสดงขอบเขตการดดำเนินงานระหว่างงานเดิมและงานใหม่ และต้องมีหนังสือยินยอมจากหน่วยงานเจ้าของผลงานเดิมให้นักวิจัยนำทรัพย์สินทางปัญญาจากการวิจัย มาดำเนินการวิจัยต่อยอด หากตรวจพบว่าข้อเสนอการวิจัยดังกล่าวได้รับทุนซ้ำซ้อนหรือมีการดำเนินการวิจัยมาแล้ว คอบช. ขอสงวนสิทธิ์ในการยกเลิกการสนับสนุนทุนวิจัย และเรียกเงินทุนวิจัยคืน
6. กรณีโครงการวิจัยที่เป็นการดำเนินงานในลักษณะการวิจัยร่วม (Co-funding) ซึ่งได้รับการสนับสนุน งบประมาณ ครุภัณฑ์ หรือสิ่งก่อสร้าง จากหน่วยงานอื่น ให้แสดงรายละเอียดการสนับสนุนดังกล่าวโดยระบุ งบประมาณในแต่ละรายการในข้อเสนอการวิจัย พร้อมทั้งแสดงหนังสือรับรองจากหน่วยงานนั้น ๆ
7. กรณีแผนงานวิจัย ผู้อำนวยการแผนงานสามารถเป็นหัวหน้าโครงการวิจัยย่อยได้เพียงโครงการวิจัยย่อยเดียวเท่านั้น
8. ผู้อำนวยการแผนงาน หัวหน้าโครงการวิจัยย่อย หรือหัวหน้าโครงการวิจัย รวมทั้งนักวิจัยร่วม ทุกท่าน ต้องลงนามรับรองในข้อเสนอการวิจัยให้ครบถ้วน
9. กรณีแผนงานวิจัย ผู้บังคับบัญชาสูงสุดของหน่วยงานระดับอธิบดีหรือเทียบเท่าของภาครัฐที่ ผู้อำนวยการแผนงานสังกัดอยู่ หรือกรรมการผู้จัดการใหญ่หรือเทียบเท่าของภาคเอกชนให้ความเห็นชอบและ รับรอง (ตามแบบ คอบช. 1ช ข้อ 20) สำหรับหัวหน้าโครงการวิจัยย่อยภายใต้แผนงานวิจัย ผู้บังคับบัญชาสูงสุดของหน่วยงานต้นสังกัด ของหัวหน้าโครงการวิจัยย่อยภายใต้แผนงานวิจัย ระดับอธิบดีหรือเทียบเท่าของภาครัฐ หรือกรรมการ ผู้จัดการใหญ่หรือเทียบเท่าของภาคเอกชนให้ความเห็นชอบและรับรอง (ตามแบบ คอบช. 1ย/1ด ข้อ 24)
10. กรณีโครงการวิจัย ผู้บังคับบัญชาสูงสุดของหน่วยงานระดับอธิบดีหรือเทียบเท่าของภาครัฐที่หัวหน้า โครงการวิจัยสังกัดอยู่ หรือกรรมการผู้จัดการใหญ่หรือเทียบเท่าของภาคเอกชนให้ความเห็นชอบและรับรอง (ตามแบบ คอบช. 1ย/1ด ข้อ 24)
ผู้มีสิทธิขอรับทุนจะต้องเป็นบุคลากรในภาครัฐหรือเอกชนที่มีสภาพเป็นนิติบุคคล โดยมีคุณสมบัติดังนี้
กองบริหารแผนและงบประมาณการวิจัย (กบง.)
โทรศัพท์ : 0 2579 1370 - 9 ต่อ 607, 611, 612