น้ำปลาความเค็มต่ำ 1418 Views

องค์ความรู้/เทคโนโลยี

       กรรมวิธีผลิต “น้ำปลาความเค็มต่ำ” โดยการหมักด้วยสภาวะที่เหมาะสม ชะลอระยะเวลาในการผลิต และสามารถกำหนดความเค็มของน้ำปลาได้ตามความต้องการของผู้บริโภค เหมาะสำหรับผู้บริโภคที่ต้องการลดปริมาณการบริโภคโซเดียม นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยลดวัสดุเศษเหลือจากกระบวนการผลิตอาหารทะเลแช่เยือกแข็งอีกด้วย

รายละเอียด

       ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตและแปรรูปอาหารทะเลเพื่อการส่งออกระดับต้นๆของโลก จึงทำให้เกิดวัสดุเศษเหลือ ทั้งที่เป็นของแข็งและของเหลวมากกว่าร้อยละ 50 ของน้ำหนักปลา นอกจากนี้ประเทศไทยยังเป็นผู้ผลิตและส่งออกน้ำปลาเป็นอันดับ 1 ของโลก ซึ่งในปัจจุบันน้ำปลาในตลาดโลกมีการแข่งขันกันมากขึ้น ทำให้เกิดการพัฒนากระบวนการผลิตน้ำปลาจากวัสดุเศษเหลือของโรงงานแปรรูปปลาแช่เยือกแข็งอย่างต่อเนื่อง         

       “น้ำปลาความเค็มต่ำ” ได้รับการพัฒนาคิดค้นเพื่อลดวัสดุเศษเหลือจากกระบวนการผลิตอาหารทะเลแช่เยือกแข็ง โดยใช้เทคนิคการย่อยสลายจากเอนไซม์ธรรมชาติและการหมักด้วยสภาวะที่เหมาะสม ช่วยชะลอระยะเวลาในการผลิต และสามารถกำหนดความเค็มของน้ำปลาได้ตามความต้องการของผู้บริโภค เหมาะกับผู้บริโภคที่ต้องการลดปริมาณการบริโภคโซเดียม นอกจากนี้เพปไทด์ที่ได้จากการผลิตยังมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระอีกด้วย

จุดเด่น

  • สามารถพัฒนากระบวนการผลิตน้ำปลาความเค็มต่ำที่เหมาะสำหรับผู้บริโภคที่ต้องการลดปริมาณการบริโภคโซเดียม
  • เพิ่มมูลค่าของเศษเหลือจากการแปรรูปให้แก่อุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเล

ตลาด/กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

  • ผู้ป่วยที่ต้องควบคุมปริมาณโซเดียม
  • ผู้สนใจทั่วไป
  • ผู้ที่รักสุขภาพ
พูดคุยกับเจ้าของเทคโนโลยี
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก.
สถานะผลงาน
ระดับถ่ายทอด (Transfer)
  • Initial
  • Experimental
  • Prototype
  • Transfer
ความต้องการ
  • ต้องการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับผู้ที่สนใจเพื่อผลิตเชิงพาณิชย์

ผู้เหมาะนำเทคโนโลยีไปลงทุน

  • ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารทะเลแช่แข็ง
  • ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป
  • ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ
  • ผู้สนใจทั่วไป

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

ผู้สมัครสามารถสมัครโปรแกรม / ทุนสนับสนุนที่เกี่ยวข้องด้านล่างภายหลังการจับคู่ผ่านระบบสำเร็จ