ชุดตรวจ DNA เพื่อวินิจฉัยการติดเชื้อพยาธิใบไม้ในกระเพาะวัว 1085 Views

องค์ความรู้/เทคโนโลยี

        วิธีการออกแบบและสร้าง “ชุดตรวจ DNA เพื่อวินิจฉัยการติดเชื้อพยาธิในในกระเพาะวัว” ที่สามารถตรวจพยาธิได้ 3 ชนิด ได้แก่ พยาธิใบไม้ พยาธิตัวกลม และพยาธิตัวตืด สามารถทราบผลการตรวจได้ทันที และสามารถตรวจสอบได้ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ มีความแม่นยํา ให้ผลการตรวจที่น่าเชื่อถือ และสามารถนําไปใช้ในภาคสนามได้จริง

รายละเอียด

        ‘การติดเชื้อพยาธิ’ เป็นปัญหาที่พบมากและมีความสำคัญต่อวัวเนื้อในประเทศไทย โดยสาเหตุของการติดเชื้อมักเกิดจากพยาธิกลุ่ม trematode cestode และ nematode หรือ พยาธิใบไม้ ที่มักพบในกระเพาะของสัตว์เคี้ยวเอี้ยง เช่น โค กระบือ แพะ และแกะ เป็นต้น ซึ่งพยาธิใบไม้เป็นตัวก่อโรค Paramphistomosis ที่ส่งผลอันตรายถึงชีวิต ดังนั้นการพัฒนาหรือประยุกต์เทคนิคการวินิจฉัยหรือการป้องกันโรคติดเชื้อพยาธิกลุ่มดังกล่าว จึงมีความสําคัญในการลดอัตราการตายของสัตว์เศรษฐกิจ

        “ชุดตรวจ DNA เพื่อวินิจฉัยการติดเชื้อพยาธิในสัตว์เคี้ยวเอื้อง” ได้คิดค้นพัฒนาเพื่อช่วยเพิ่มความแม่นยํา และลดระยะเวลาการตรวจวินิจฉัยกลุ่มพยาธิในวัวเนื้อ ซึ่งปัจจุบันยังตรวจวินิจฉัยได้ยากและยังไม่มีชุดทดสอบทางการค้าที่ผลิตเพื่อตรวจวิเคราะห์ ดังนั้นผลิตภัณฑ์นี้จึงใช้วิธี multiplex real-time PCR และ dipstick DNA biosensor ทำให้สามารถตรวจพยาธิได้ 3 ชนิด ได้แก่ พยาธิใบไม้ ตัวกลม และตัวตืด พร้อมกันได้สามารถทราบผลการตรวจอย่างทันที รวมถึงสามารถตรวจสอบได้ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ มีความแม่นยํา ทำให้สัตว์แพทย์สามารถเลือกใช้ชนิดและปริมาณยาเพื่อกําจัดพยาธิได้อย่างถูกต้อง  และสามารถนําไปใช้ในภาคสนามได้จริง

จุดเด่น

  • สามารถตรวจพยาธิได้ 3 ชนิด ได้แก่ พยาธิใบไม้ ตัวกลม และตัวตืด
  • สามารถทราบผลการตรวจอย่างทันที 
  • สามารถตรวจสอบได้ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ
  • ช่วยเพิ่มความแม่นยำในการตรวจวินิจฉัย
  • เพิ่มศักยภาพทางปศุสัตว์ในการเลี้ยงโคเนื้อเพื่อจําหน่าย

ตลาด/กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

  • ผู้ที่สนใจ
พูดคุยกับเจ้าของเทคโนโลยี
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก.
สถานะผลงาน
ระดับถ่ายทอด (Transfer)
  • Initial
  • Experimental
  • Prototype
  • Transfer
ความต้องการ
  • ต้องการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับผู้ที่สนใจเพื่อผลิตเชิงพาณิชย์
  • ต้องการพัฒนาต่อยอดด้านกระบวนการผลิตในระดับอุตสาหกรรมร่วมกับผู้ที่สนใจ

ผู้เหมาะนำเทคโนโลยีไปลงทุน

  • กลุ่มเกษตรกรที่เลี้ยงโคเนื้อ 
  • ผู้ที่สนใจ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

ผู้สมัครสามารถสมัครโปรแกรม / ทุนสนับสนุนที่เกี่ยวข้องด้านล่างภายหลังการจับคู่ผ่านระบบสำเร็จ