ขนมกุยช่ายพร้อมบริโภคสำหรับผู้มีภาวะโรคหัวใจและหลอดเลือด 1648 Views

องค์ความรู้/เทคโนโลยี

        สูตรและกรรมวิธีการผลิต “ขนมกุยช่ายพร้อมบริโภคสำหรับผู้มีสภาวะโรคหัวใจและหลอดเลือด”ได้รับการพัฒนาคิดค้นพิเศษสำหรับผู้มีภาวะโรคหัวใจและหลอดเลือด หรือมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด อาทิเช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ฯลฯ ผลิตภัณฑ์พร้อมรับประทาน มีคุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสม และรสชาติที่ดี

รายละเอียด

        “ขนมกุยช่าย” หรือ กุยช่ายก้วย เป็นอาหารของชาวจีนแต้จิ๋วที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในประเทศไทย ลักษณะของขนมแป้งบาง อ่อนนิ่ม ใช้แป้งข้าวเจ้าผสมแป้งมันป็นส่วนผสมหลัก และมีไส้ทำจากผักกุยช่าย โดยทั่วไปอาหารชนิดนี้มักพบเกลือโซเดียมและไขมันในปริมาณที่สูง ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อผู้ที่มีภาวะโรคหัวใจและหลอดเลือด หรือผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังอื่นๆ เนื่องจากการป้องกันและรักษาโรคในบางครั้งจำเป็นจะต้องได้รับสารอาหารประเภทเกลือโซเดียม คลอเลสเตอรอล และปริมาณไขมันที่เหมาะสมในแต่ละวัน

        “ขนมกุยช่ายพร้อมบริโภคสำหรับผู้มีภาวะโรคหัวใจและหลอดเลือด” อาหารพร้อมบริโภครูปแบบใหม่ ได้รับการพัฒนาคิดค้นสูตรและกรรมวิธีผลิตขนมกุยช่ายสำหรับผู้มีภาวะโรคหัวใจและหลอดเลือดโดยเฉพาะ มีปริมาณเกลือโซเดียมต่ำ ประกอบไปได้คุณค่าทางโภชนาการ ให้พลังงานที่เหมาะสม และมีรสชาติที่ดี จึงเป็นอาหารที่เหมาะสำหรับผู้มีภาวะหรือมีความเสี่ยงต่อโรคดังกล่าว ซึ่งครอบคลุมถึงผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และยังเหมาะกับหรือผู้ที่รักและชื่นชอบการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ

จุดเด่น

  • มีปริมาณเกลือโซเดียมต่ำกว่าสูตรปกติที่มีจำหน่ายในท้องตลาด
  • มีคุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสมต่อผู้ที่มีภาวะโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • ให้คุณค่าพลังงานทางอาหารที่ต่ำ (พลังงาน 91 กิโลแคลอรี)
  • มีการระบุปริมาณสารอาหารต่างๆ ที่ได้รับให้ทราบอยู่ในบรรจุภัณฑ์ของขนม

ข้อมูลเปรียบเทียบเทคโนโลยีนี้กับคู่แข่ง / เทคโนโลยีเดิม


ตลาด/กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

  • ผู้ป่วยสภาวะโรคหัวใจและหลอดเลือด หรือผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
  • ผู้สูงอายุ
  • ผู้บริโภคที่ใส่ใจในสุขภาพ
พูดคุยกับเจ้าของเทคโนโลยี
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
สถานะผลงาน
ระดับต้นแบบ (Prototype)
  • Initial
  • Experimental
  • Prototype
  • Transfer
ความต้องการ
  • ต้องการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับผู้ที่สนใจเพื่อผลิตเชิงพาณิชย์

ผู้เหมาะนำเทคโนโลยีไปลงทุน

  • ผู้ผลิตและจำหน่ายอาหารเพื่อสุขภาพ
  • ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ และโรงพยาบาล
  • ผู้สนใจทั่วไป

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

ผู้สมัครสามารถสมัครโปรแกรม / ทุนสนับสนุนที่เกี่ยวข้องด้านล่างภายหลังการจับคู่ผ่านระบบสำเร็จ