ยางมะตอยจากพลาสติกเหลือใช้ 2104 Views

องค์ความรู้/เทคโนโลยี

       สูตรและกรรมวิธีผลิต “ยางมะตอยจากพลาสติกเหลือใช้” กระบวนการผสมขยะพลาสติกเพื่อเพิ่มคุณภาพยางมะตอย สำหรับทำถนน


รายละเอียด

        ยางมะตอยชนิด PMA เป็นส่วนผสมระหวางโพลีเมอร์ (POLYMER) กับ แอสฟลตซีเมนต (ASPHALT CEMENT) ซึ่งเป็นเกรดที่มีคุณสมบัติสูง มีความทนทาน และต้านทานสูง วัตถุดิบจึงมีราคาแพงกว่ายางมะตอยเกรดทั่วไป

        "ยางมะตอยจากพลาสติกเหลือใช้" ได้รับการพัฒนากระบวนการผลิตยางมะตอยโดยใช้พลาสติกเหลือใช้ที่คละเกรด นำมาเป็นส่วนผสม เพื่อให้ได้ยางมะตอยชนิด PMA ที่มีคุณสมบัติเฉพาะ ต้นทุนต่ำ ทนความร้อนและเย็น ยืดอายุการใช้งาน  ป้องกันรอยแตกร้าว ผ่านกระบวนการผสมพลาสติกที่ลดต้นทุนการผลิต และประหยัดพลังงาน

จุดเด่น

  • ยางมะตอยชนิด PMA ทำให้อายุการใช้งานถนนเพิ่มขึ้น 2 เท่า
  • ด้วยส่วนผสมจากขยะเหลือทิ้งจึงมีราคาต้นทุนวัตถุดิบที่ถูกกว่าการซื้อพลาสติกบริสุทธิ์มาผสม
  • มีอุปกรณ์การผสมที่สามารถ ลดค่าใช้จ่าย พลังงานและเวลา ในการผสมให้เป็นเนื้อเดียวกัน

ข้อมูลเปรียบเทียบเทคโนโลยีนี้กับคู่แข่ง / เทคโนโลยีเดิม

  • ต้นทุนวัตถุดิบพลาสติกที่ถูกกว่า เพราะใช้ขยะพลาสติกคละเกรด ที่สูตรทั่วไป ต้องทำการคัดแยกให้ได้พลาสติกรีไซเคิลที่เฉพาะเจาะจง จึงจะควบคุมผล การทนร้อน ทนเย็นได้
  • ประหยัดค่าพลังงานในการผสมและระยะเวลาที่ใช้

ตลาด/กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

  • โรงงานผู้ขายยางมะตอย
  • ผู้รับเหมาทำถนนยางมะตอย
  • ผู้บริหารจัดการหลุมฝักกลบ หรือจัดการขยะชายทะเล
  • รัฐบาลที่ต้องการลดปัญหาขยะพลาสติกในทะเล
พูดคุยกับเจ้าของเทคโนโลยี
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
พิชิต เจนบรรจง
สถานะผลงาน
ระดับงานวิจัย (Initial)
  • Initial
  • Experimental
  • Prototype
  • Transfer
ความต้องการ
  • ต้องการพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีร่วมกับผู้ประกอบการที่สนใจ ก่อนผลิต / ลงทุนเชิงพาณิชย์

คุณสมบัติของผู้สมัคร

  1. มีพลาสติกเป็นขยะเหลือทิ้งของโรงงาน
  2. หรือเป็นผู้บริหารจัดการหลุมฝังกลบ
  3. ต้องการเป็นผู้ผลิตยางมะตอย PMA

ผู้เหมาะนำเทคโนโลยีไปลงทุน

  • โรงงานผู้ผลิตปูนซีเมนต์
  • กลุ่มวิสาหกิจทั่วไป
  • ผู้ที่สนใจทั่วไป

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

ผู้สมัครสามารถสมัครโปรแกรม / ทุนสนับสนุนที่เกี่ยวข้องด้านล่างภายหลังการจับคู่ผ่านระบบสำเร็จ