อุปกรณ์ตรวจสอบคุณภาพผลผลิตเกษตรด้วยเนียร์อินฟราเรด 1500 Views

องค์ความรู้/เทคโนโลยี

      กรรมวิธีการผลิต “อุปกรณ์ตรวจสอบคุณภาพผลผลิตเกษตรด้วยเทคโนโลยีเนียร์อินฟราเรด” สำหรับตรวจสอบคุณภาพผลผลิตเกษตร อาหาร อาหารสัตว์ และชีวภาพ แบบรวดเร็ว โดยไม่ทำลายตัวอย่าง ไม่ใช้สารเคมี ลดการนำเข้าเครื่องมือ และต้นทุนการผลิตเครื่องต่ำกว่าการนำเข้าจากประเทศ 7-10 เท่า

รายละเอียด

      “คุณภาพ” เป็นสิ่งที่ผู้ผลิตสินค้าบริโภคให้ความสำคัญ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเกี่ยวกับอาหาร มีการตรวจสอบสินค้าหลายรายการเพื่อควบคุมคุณภาพให้คงที่ ปลอดภัยกับผู้บริโภค แต่การตรวจสอบด้วยวิธีมาตรฐานต้องดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญ มีหลายขั้นตอน ใช้ระยะเวลาตรวจสอบนานและมีค่าใช้จ่ายสูง อีกทั้งเทคนิคการตรวจสอบสินค้าโดยทั่วไปมักเป็นวิธีที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่สินค้าที่นำมาตรวจสอบ ทำให้เกิดความสูญเสียและสิ้นเปลือง นอกจากนี้ยังอาจก่อให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม หากกำจัดสารเคมีที่ใช้ในการตรวจไม่ถูกต้อง

       “อุปกรณ์ตรวจสอบคุณภาพผลผลิตเกษตรด้วยเทคโนโลยีเนียร์อินฟราเรด” ได้รับการพัฒนาคิดค้นเพื่อใช้ในการควบคุมคุณภาพของผลผลิตทางการเกษตร อาหาร อาหารสัตว์ และชีวภาพ โดยการตรวจวัดปริมาณแสงที่ส่องออกไปเทียบกับปริมาณแสงที่ถูกตัวอย่างดูดกลืนในช่วงความยาวคลื่นประมาณ 400-2500 นาโนเมตร สามารถใช้ตรวจสอบคุณภาพผลผลิตได้อย่างดีเยี่ยม  ได้ผลการตรวจสอบที่มีความแม่นยำสูง ค่าใช้จ่ายต่ำกว่าการตรวจด้วยวิธีมาตรฐาน ตรวจสอบตัวอย่างผลผลิตได้ทั้งในรูปผล ก้อน เม็ด ของเหลว  กึ่งแข็งกึ่งเหลว  หรือของแข็ง  ทั้งในขั้นตอนก่อน ระหว่าง และหลังกระบวนการผลิต อีกทั้งสามารถทำนายคุณภาพผลผลิตชนิดต่างๆได้พร้อมกันในการตรวจวัดเพียงครั้งเดียว โดยไม่ทำลายตัวอย่างสินค้า

จุดเด่น

  • ทราบผลรวดเร็วเพียง 2-3 นาทึ มีความแม่นยำสูง ไม่ทำลายตัวอย่างสินค้า
  • เครื่องขนาดเล็ก เคลื่อนย้ายได้สะดวกและสามารถควบคุมอุณหภูมิตัวอย่างระหว่างตรวจวัดได้
  • สามารถแสดงผลการตรวจวัดค่าคุณภาพได้หลายค่าในการตรวจวัดครั้งเดียว
  • ต้นทุนการผลิตต่ำกว่าเครื่องที่นำเข้าจากต่างประเทศ 7-10 เท่า
  • ไม่ใช้สารเคมีและไม่ต้องใช้ผู้ปฏิบัติการที่มีความชำนาญสูง
  • ลดต้นทุนการตรวจต่อตัวอย่าง 5-10 เท่า เมื่อเทียบกับวิธีมาตรฐาน

ข้อมูลเปรียบเทียบเทคโนโลยีนี้กับคู่แข่ง / เทคโนโลยีเดิม


ตลาด/กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

  • ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร
  • ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหาร อาหารสัตว์
  • ผู้ที่สนใจทั่วไป
พูดคุยกับเจ้าของเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร.อีสาน) งานทรัพย์สินทางปัญญา สถาบันวิจัยและพัฒนา
สถานะผลงาน
ระดับต้นแบบ (Prototype)
  • Initial
  • Experimental
  • Prototype
  • Transfer
ความต้องการ
  • ต้องการพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีร่วมกับผู้ประกอบการที่สนใจ ก่อนผลิต / ลงทุนเชิงพาณิชย์
  • ต้องการพัฒนาต่อยอดด้านกระบวนการผลิตในระดับอุตสาหกรรมร่วมกับผู้ที่สนใจ
  • ต้องการหาผู้ร่วมทดสอบตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์นี้

ผู้เหมาะนำเทคโนโลยีไปลงทุน

  • ผู้ผลิตและจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร
  • กลุ่มเกษตรกร
  • ผู้ที่สนใจทั่วไป

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

ผู้สมัครสามารถสมัครโปรแกรม / ทุนสนับสนุนที่เกี่ยวข้องด้านล่างภายหลังการจับคู่ผ่านระบบสำเร็จ