การเลี้ยงหอยแมลงภู่แบบแพเชือก 2889 Views

องค์ความรู้/เทคโนโลยี

        วิธีการ “เลี้ยงหอยแมลงภู่รูปแบบแพเชือก” ให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นจากเดิมกว่าเท่าตัว  โดยใช้วัสดุที่หาได้ง่าย และมีอายุการใช้งานยาวนานหลายปี แก้ปัญหาและข้อจำกัดการเลี้ยงแบบเดิมที่ใช้วิธีปักไม้ซึ่งไม่คงทน   ช่วยยกระดับระบบการผลิตหอยแมลงภู่ให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ และเป็นทางเลือกใหม่สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงหอยแมลงภู่  

รายละเอียด

        “การเลี้ยงหอยแมลงภู่”  ในปัจจุบันส่วนใหญ่ใช้วิธีเลี้ยงแบบดั้งเดิม คือใช้หลักไม้ เช่น ไม้ไผ่ ปักลงในทะเลบริเวณชายฝั่งเพื่อเป็นหลักให้ลูกหอยแมลงภู่ที่เกิดตามธรรมชาติมาเกาะอาศัยและเจริญเติบโตจนได้ขนาดที่สามารถจับขายได้ หลักไม้ดังกล่าว จะมีอายุการใช้งานประมาณ 1-2 ปี ซึ่งต้องเสียค่าไม้และค่าแรงงานในการปักไม้ใหม่เป็นประจำทุกปี และมีข้อเสียหลายด้าน อาทิ ไม้มีความเปราะบางหักก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต หากโดนพายุพัดหักล้มก็จะทำให้ผลผลิตเสียหาย  อีกทั้งยังเป็นการทำลายทัศนียภาพที่สวยงามทางทะเล กีดขวางทางเดินเรือ และถ้าใช้ไม้ที่มีความยาวไม่มากเมื่อน้ำขึ้นเต็มที่จะมองไม่เห็นเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ นอกจากนี้ ในปัจจุบันไม้หลักที่ใช้ในการเลี้ยงหอยแมลงภู่เริ่มหายากและราคาแพงขึ้น

        วิธีการ “เลี้ยงหอยแมลงภู่แบบแพเชือก” ได้รับการคิดค้นและพัฒนารูปแบบใหม่ในการเลี้ยง สามารถเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้นมากกว่า 100 % ใช้วัสดุที่หาง่าย ทนทาน มีอายุการใช้งานนานหลายปี  โดยสามารถประยุกต์ใช้และปรับรูปแบบการเลี้ยงให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ที่แตกต่างกันได้  ถือเป็นการยกระดับการเลี้ยงหอยแมลงภู่ให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และเป็นทางเลือกใหม่สำหรับเกษตรกร ที่ผ่านมาได้มีการฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไป ส่งผลให้มีการเลี้ยงหอยแมลงภู่แบบแพเชือกกันอย่างแพร่หลาย ได้แก่ ชลบุรี  ระยอง  สมุทรสงคราม  เพชรบุรี  ประจวบคีรีขันธ์  ชุมพร และระนอง เป็นต้น

จุดเด่น

  • ช่วยลดข้อจำกัดและแก้ไขปัญหาการเลี้ยงแบบปักไม้ซึ่งมีอายุการใช้งานสั้น และมีข้อเสียมากกว่า
  • เป็นการลงทุนที่คุ้มค่า ผลผลิตเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม 100 %
  • อุปกรณ์เคลื่อนย้ายได้ง่าย  สะดวกในการติดตั้ง  ช่วยเพิ่มโอกาสในการขยายพื้นที่เลี้ยง
  • ใช้วัสดุที่หาง่าย  มีอายุการใช้งานนานหลายปี  
  • ยกระดับระบบการเลี้ยงหอยแมลงภู่ให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ตลาด/กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

  • กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงหอยแมลงภู่
  • ผู้สนใจทั่วไป
พูดคุยกับเจ้าของเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สุริยัน ธัญกิจจานุกิจ
สถานะผลงาน
ระดับถ่ายทอด (Transfer)
  • Initial
  • Experimental
  • Prototype
  • Transfer
ความต้องการ
  • ต้องการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ผู้ประกอบการที่สนใจนำไปผลิต / ลงทุนเชิงพาณิชย์

ผู้เหมาะนำเทคโนโลยีไปลงทุน

  • กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงหอยแมลงภู่
  • ผู้สนใจทั่วไป

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

ผู้สมัครสามารถสมัครโปรแกรม / ทุนสนับสนุนที่เกี่ยวข้องด้านล่างภายหลังการจับคู่ผ่านระบบสำเร็จ