ชุดตรวจเชื้อไวรัสรุนแรงในสุกร 1105 Views

องค์ความรู้/เทคโนโลยี

        กรรมวิธีผลิต “ชุดตรวจดีเอ็นเอเซ็นเซอร์” สำหรับตรวจหาเชื้อไวรัสพีอาร์อาร์เอสชนิดรุนแรง (HP-PRRS virus) ในสุกร    มีความแม่นยำสูง  ทราบผลรวดเร็วภายใน 1 ชั่วโมง

รายละเอียด

        “โรคพีอาร์อาร์เอส” (Porcine reproductive and respiratory syndrome, PRRS) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสทางระบบสืบพันธุ์และระบบทางเดินหายใจในสุกร ก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรทั่วโลกเป็นอย่างมาก  จึงจำเป็นต้องมีเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวินิจฉัยโรคที่แม่นยำเพื่อป้องกันความเสียหายร้ายแรงนี้

        “ชุดตรวจดีเอ็นเอเซ็นเซอร์” สำหรับตรวจหาเชื้อไวรัสพีอาร์อาร์เอสชนิดรุนแรง (HP-PRRS virus) ถูกคิดค้นและพัฒนาโดยประยุกต์ใช้เทคนิคเฉพาะในการเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมอาร์เอ็นเอ (RNA) มีเป้าหมายหลักเพื่อการตรวจหาที่ง่ายและรวดเร็ว ไม่ต้องพึ่งพาห้องปฏิบัติการ พร้อมพัฒนาระบบการตรวจสอบสัญญาณของสารพันธุกรรมที่มีความไวและแม่นยำสูง  

การประยุกต์ใช้ / วิธีใช้งาน

1)  เก็บตัวอย่างจากสุกรที่ต้องการทดสอบ ไม่ว่าจะเป็น เลือด หรือชิ้นเนื้อหรืออวัยวะของสุกรก็ได้

2)  นำตัวอย่างที่ได้จากข้อ 1 มาสกัดสารพันธุกรรม โดยใช้ชุดสกัดสำเร็จรูป

3)  นำตัวอย่างสารสกัดพันธุกรรมที่ได้จากข้อ 2 มาเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรม ตามขั้นตอนที่ได้ระบุในชุดตรวจสอบ

4)  นำตัวอย่างสารพันธุกรรมที่ได้เพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมจากข้อ 3 มาใส่สารเพื่อทดสอบการเปลี่ยนสี

5)  ตรวจการเปลี่ยนสีหรือการเรืองแสงด้วยหลอดไฟยูวี (ultraviolet lamp)

6)  ระยะเวลาจากข้อ 2-5 ใช้ระยะเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง

7)  สามารถนำหลักการนี้ไปประยุกต์ใช้กับโรคชนิดอื่นๆได้ เช่น โรคเซอร์โคไวรัส เป็นต้น

จุดเด่น

  • สามารถเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมของไวรัสในระดับจำกัด (Limit of detection) ได้มากกว่า 100 ก็อปปี้ (copies) โดยมีความจำเพาะต่อไวรัสเป้าหมาย และสามารถแยกความแตกต่างในการทดสอบกับไวรัสชนิดอื่น เช่น PRRSV ต่างสายพันธุ์ ได้แก่ สายอเมริกาเหนือ (North America strain, NA) และสายพันธุ์ยุโรป (European strain, EU), Porcine circovirus, Porcine parvovirus, Classical Swine Fever virus Influenza A virus, H5N1, H3N1 และ H1N1 
  • มีความแม่นยำสูง  ทราบผลรวดเร็วภายใน 1 ชั่วโมง
  • เป็นวิธีการทดสอบที่มีประสิทธิภาพสูง  ไม่ต้องพึ่งพาเครื่องมือที่ซับซ้อน และสามารถตอบสนองหลักการ point of care ที่หน้างานได้ทันที
  • ใช้งานสะดวก  สามารถนำไปใช้ได้ทุกพื้นที่ เช่น ฟาร์มเลี้ยงสุกร ห้องปฏิบัติการ หรือด่านกักสัตว์ เป็นต้น
  • ผลงานได้รับรางวัล Special prize award จาก Chinese Academy of Invention Institute (CAI) ในการประกวดสิ่งประดิษฐ์ "43rd  International Exhibition of lnventions of Geneva

ข้อมูลเปรียบเทียบเทคโนโลยีนี้กับคู่แข่ง / เทคโนโลยีเดิม


ตลาด/กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

  • ฟาร์มเลี้ยงสุกร
  • หน่วยงานราชการ เช่น กรมปศุสัตว์
  • บริษัทจำหน่ายยาและเวชภัณฑ์ให้กับฟาร์มเลี้ยงสุกร
  • ห้องปฏิบัติการชันสูตรโรคสัตว์
พูดคุยกับเจ้าของเทคโนโลยี
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อรรณพ สุริยสมบูรณ์
สถานะผลงาน
ระดับถ่ายทอด (Transfer)
  • Initial
  • Experimental
  • Prototype
  • Transfer
ความต้องการ
  • ต้องการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ผู้ประกอบการที่สนใจนำไปผลิต / ลงทุนเชิงพาณิชย์

ผู้เหมาะนำเทคโนโลยีไปลงทุน

  • หน่วยงานราชการ เช่น กรมปศุสัตว์ สำหรับการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรค
  • บริษัทจำหน่ายยาและเวชภัณฑ์ให้กับฟาร์มเลี้ยงสุกร
  • ห้องปฏิบัติการชันสูตรโรคสัตว์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

ผู้สมัครสามารถสมัครโปรแกรม / ทุนสนับสนุนที่เกี่ยวข้องด้านล่างภายหลังการจับคู่ผ่านระบบสำเร็จ