รายละเอียด
สรุปและเรียบเรียงโดย Tech2Biz
ที่มา www.scitechdaily.com
ปลอกหุ้มกระตุ้นหัวใจ บิดและบีบตัวตามจังหวะเต้นหัวใจ
ภาพจาก www.scitechdaily.com
ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดและโรงพยาบาลเด็กบอสตันได้พัฒนาซอฟต์โรบอทห่อหุ้มทั้งอวัยวะเพื่อช่วยการเต้นของหัวใจ นับเป็นการเปิดหนทางสำหรับการรักษาใหม่ ๆ ให้กับผู้ป่วยหัวใจวาย
ทีมงาน Tech2Biz ขอสรุปคุณสมบัติเด่นของเทคโนโลยีจากต่างแดนซึ่งถือเป็นนวัตกรรมด้านการแพทย์ที่น่าสนใจดังนี้
กลไกการทำงาน / จุดเด่น
- ซอฟต์โรบอทถูกพัฒนาขึ้นในรูปแบบ “ปลอกซิลิโคน” ที่ห่อหุ้มหัวใจเอาไว้ทั้งดวง โดยหน้าที่บิดและบีบตัวตามจังหวะการเต้นของหัวใจ
- ปลอกหุ่นยนต์จะเชื่อมต่อกับปั๊มลม หัวฉีดลมจะทำหน้าที่ดูดและปล่อยลมเข้ามายังสายรัดรอบหัวใจให้เกิดการบีบรัดที่เลียนแบบชั้นกล้ามเนื้อภายนอกหัวใจ
- ปลอกหุ่นยนต์ที่บีบตัวตามจังหวะการเต้นหัวใจจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ โดยบีบรัดให้หัวใจสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย ทำให้ช่วยลดความเสี่ยงจากภาวะหัวใจวายจากโรคหัวใจได้
- ปลอกหุ่นยนต์สามารถปรับให้เข้ากับผู้ป่วยแต่ละคนได้ เช่น หากผู้ป่วยมีปัญหาในหัวใจห้องด้านซ้าย ก็ปรับให้ช่วยตรงนั้นเป็นพิเศษ และระดับความดันหัวฉีดสามารถปรับให้เพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ตามภาวะอาการของผู้ป่วย
___________________________________________
“งานวิจัยนี้เป็นเครื่องพิสูจน์แนวคิดซอฟท์โรบอทนี้ ว่ามันสามารถทำงานร่วมกับเนื้อเยื้ออ่อนได้และช่วยให้การทำงานของหัวใจดีขึ้น...” - คอนเนอร์ วอลช์ นักวิจัยหลัก และจอห์น แอล. โลบ รองศาสตราจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์และวิศวกรรมศาสตร์และสมาชิกคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยวิสส์
___________________________________________
ประโยชน์
- งานวิจัยนี้เป็นหนึ่งในงานวิจัยที่พิสูจน์ว่า Robot สามารถทำงานร่วมกับเนื้อเยื้ออ่อนในร่างกายคนเราได้และช่วยให้การทำงานของหัวใจดีขึ้น
- เป็นการรักษาทางเลือกใหม่ให้ผู้ป่วย เนื่องจากการใช้เครื่องช่วยสูบฉีดเลือดหัวใจแบบเดิมมักก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ เช่น การอุดตันของเส้นเลือดและหลอดเลือดสมองแตก นำไปสู่การเป็นอัมพาตและเสียชีวิตของคนไข้ได้ในที่สุด
- ประดิษฐกรรมนี้มีโอกาสที่จะช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว (หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างของร่างกายได้อย่างเพียงพอ) ซึ่งในแต่ละปีมีจำนวนมากกว่า 41 ล้านคนทั่วโลก ซึ่งผู้ป่วยเหล่านี้อาจไม่สามารถใช้เครื่องช่วยสูบฉีดเลือดหัวใจได้เพราะมีผลข้างเคียงทั้งเส้นเลือดอุดตันและหลอดเลือดสมอง
- นอกจากโอกาสในการช่วยฟื้นฟูผู้ป่วยจากภาวะหัวใจวายแล้ว ประดิษฐกรรมนี้ยังเป็นความหวังของแพทย์และผู้ป่วยในการรักษาโรคหัวใจที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งรวมไปถึงกระบวนการการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและการปลูกถ่ายหัวใจ อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องมีการวิจัยพัฒนาเพิ่มเติมก่อนที่จะนำมาปลูกถ่ายจริงในมนุษย์ได้
___________________________________________
“งานวิจัยชิ้นนี้นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมากในตอนนี้เพราะผู้ป่วยที่รอดมาจากอาการหัวใจขาดเลือดสุดท้ายก็ต้องมาประสบกับอาการหัวใจวายอีก” - โรช ผู้เขียนงานวิจัยหลัก
___________________________________________
นับเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมที่ถือเป็นความก้าวหน้าทางการแพทย์ครั้งสำคัญซึ่งถือเป็นความหวังในการช่วยทำให้ผู้มีปัญหาทางหัวใจมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ในอนาคต