กรรมวิธีผลิต “อาหารมีชีวิตฮาร์แพคทิคอยโคพีพอด” สำหรับใช้เพาะเลี้ยงลูกปลากะรัง (ปลาเก๋า) ช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของลูกปลามากกว่าเดิม 4 เท่า ซึ่งเป็นการช่วยแก้ปัญหาให้แก่วงการเพาะเลี้ยงปลากะรังที่ยังประสบอัตรารอดของลูกปลาต่ำทั่วโลก
“ปลากะรัง” หรือท่ีรู้จักกันในชื่อ “ปลาเก๋า” เป็นปลาเศรษฐกิจที่มีมูลค่าสูง ราคาจําหน่ายในตลาดกิโลกรัมละ 800 -1,200 บาท เนื่องจากรสชาติเนื้อปลาที่นุ่ม แน่น หวาน และยังจัดเป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพสูง ย่อยง่าย และดีต่อสุขภาพ ปลากะรังได้รับความนิยมไม่เพียงเฉพาะในไทย แต่ยังเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ เช่น จีน สิงคโปร์ ไต้หวัน ฮ่องกง ฯลฯ ที่ผ่านมาปลาชนิดนี้จับจากธรรมชาติเป็นหลัก สืบเนื่องจากทรัพยากรในท้องทะเลเริ่มร่อยหรอลง ทําให้จับปลาได้น้อยลงตามไปด้วย การส่งเสริมการเพาะเลี้ยงปลาจึงเป็นทางออกในการเพิ่มผลผลิตเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาดโลก
อย่างไรก็ตาม การเพาะเลี้ยงปลากะรังเป็นเรื่องยากมาก โดยสิ่งที่วงการเพาะเลี้ยงปลากะรังทั่วโลกยังคงประสบปัญหาอยู่ก็คือ อัตรารอดชีวิตของลูกปลากะรังวัยอ่อนต่ำมาก เนื่องจากลูกปลาแรกฟักออกจากไข่มีช่องปากและคอหอยเล็กมาก ต้องได้รับอาหารที่มีขนาดเหมาะสมเท่านั้นจึงจะมีชีวิตรอดได้ นอกจากนี้ ลูกปลาที่รอดชีวิตมาได้ในระยะแรกยังมีจำนวนลดลงอีกจากการขาดสารอาหารจำพวกกรดไขมันที่จำเป็น
“อาหารมีชีวิตฮาร์แพคทิคอยโคพีพอด” (Harpacticoid copepods) ได้รับการพัฒนาคิดค้นขึ้นสำหรับใช้อนุบาลลูกปลาเก๋าปะการังวัยอ่อนโดยเฉพาะ โดยจากการศึกษาทดสอบเพาะเลี้ยงปลากะรังด้วยอาหารฮาร์แพคทิคอยโคพีพอดมากกว่า 5 ปี พบว่าฮาร์แพคทิคอยโคพีพอดช่วยเพิ่มอัตราการรอดของปลาเก๋าปะการังได้มากกว่าเดิ่ม 4 เท่า (จากเดิมอัตรารอดที่ 9% เพิ่มเป็น 36%) ซึ่งถือเป็นแรกของโลก ทั้งนี้ ฮาร์แพคทิคอยโคพีพอดนี้มีขนาดเล็กกว่าขนาดปากลูกปลา ทำให้ลูกปลาวัยอ่อนได้รับอาหารทันทีที่ปากเปิด อุดมด้วยคุณค่าอาหาร อาทิ โปรตีนและคุณค่าทางอาหารอื่น ๆ สูงกว่าอาหารอนุบาลที่ใช้อยู่เดิม โดยเฉพาะมีกรดไขมันที่จำเป็น จึงช่วยเพิ่มอัตราการรอดของลูกปลากะรัง และทำให้ลูกปลาแข็งแรงเจริญเติบโตได้รวดเร็ว
ต้องการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ผู้ประกอบการที่สนใจนำไปผลิต / ลงทุนเชิงพาณิชย์
ผู้เหมาะนำเทคโนโลยีไปลงทุน